โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ปี64 ช่วยเกษตรกรรวมกลุ่มเพิ่มเครือข่ายมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ต่อเดือน
โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ปี64 ช่วยเกษตรกรรวมกลุ่มเพิ่มเครือข่ายมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ต่อเดือน

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามผลการดำเนินงานโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตรซึ่งเป็นโครงการหนึ่งภายใต้แผนงาน บูรณาการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งปีงบประมาณ 2564 มีเป้าหมายส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 1,723 กลุ่ม เกษตรกร 26,201 ราย รวม 77 จังหวัด โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่าย สามารถบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรด้วยการถ่ายทอดความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต ให้เกษตรกรมีความรู้ความสามารถในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่ได้มาตรฐาน พัฒนาคุณภาพดินในพื้นที่โครงการให้มีศักยภาพ มีความเหมาะสมในการผลิตพืช และใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยโครงการปีนี้ มีกรมหม่อนไหม กรมพัฒนาที่ดิน และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)

จากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ปีงบประมาณ 2564 สำรวจตัวอย่างเกษตรกร 629 ราย 55 จังหวัด พบว่า เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมเกือบร้อยละ 100 สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการทำการเกษตรของตนเอง อาทิ การปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยหมักเพื่อลดต้นทุนการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า การออกแบบลวดลายผ้าไหม การฟอกย้อมสีจากธรรมชาติ และการทำแผนการผลิตของตนเองและกลุ่มเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพเป็นรายได้เสริม เป็นต้น เกษตรกรเพียงร้อยละ 1 ไม่ได้นำความรู้ไปใช้ เนื่องจาก เห็นว่าอยู่ในช่วงของการระบาดโควิด-19 เศรษฐกิจไม่ดี การขายผลผลิตอาจไม่ดีตาม จึงยังไม่ได้นำไปปรับใช้โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ปี64 สระบุรี

ด้านรายได้ พบว่า เกษตรกรมีรายได้ 9,396 บาทต่อเดือน จากที่ก่อนเข้าร่วมโครงการ มีรายได้ 7,045 บาทต่อเดือน (เพิ่มขึ้น 2,351 บาทต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33) โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต เช่น เส้นไหม พืชผักสวนครัว กล้วย ผักกาด กะหล่ำ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยและจากเห็ด เป็นต้น นอกจากนี้ ในการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกร ยังช่วยให้เกษตรกรมีเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรถึงร้อยละ 92 เห็นว่าการเข้าร่วมโครงการส่งผลให้กลุ่มของตนเองมีการประสานงานเครือข่ายสะดวกยิ่งขึ้นในด้านต่าง ๆ ทั้งการจัดหาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าของกลุ่ม การจัดจำหน่าย ตลอดจนการได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่าง ๆ ร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลต่อเกษตรกรในระยะยาวโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ปี64

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งเสริมและพัฒนาในพื้นที่ทำได้ยาก บางกิจกรรมต้องมีการรวมตัวของผู้สูงอายุ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ ประกอบกับข้อจำกัดในบางพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เข้าไปรวมตัวกันภายในชุมชน เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค โดยยังมีกลุ่มเกษตรกรที่มีความต้องการเข้ารับการพัฒนาศักยภาพจำนวนมาก จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกกลุ่ม ซึ่งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายหรือเหมาะสมแล้ว ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ในทันที

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated