กูรูสินค้าเกษตรแนะ SME วิถียั่งยืน ผ่านสัมมนาออนไลน์ “สร้างเถ้าแก่ SME สู่ความยั่งยืน รุ่นที่ 2”
น.ส.อินทิรา พฤกษ์รัตนนภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีพี ออลล์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาในครั้งนี้

เป็นที่ทราบกันว่า SME เกือบ 3 ล้านราย เป็นฟันเฟืองที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจของบ้านเรา ซึ่งในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มี SMEจำนวนไม่น้อยได้รับผลกระทบ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้ออกประกาศฉบับใหม่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการโดยตรง

ด้วยเหตุนี้เอง สมาคมการค้าปลีกและเอสเอ็มอีทุนไทย จึงได้ร่วมกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ ตอกย้ำภารกิจ “เซเว่น อีเลฟเว่น กองหนุน SME” โดยจัดงานสัมมนาออนไลน์ “สร้างเถ้าแก่ SME สู่ความยั่งยืน รุ่นที่ 2” มุ่งเน้นให้ความรู้ด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าในตลาด Modern Trade เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับระเบียบหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อทำให้สินค้ามีคุณภาพและได้มาตรฐานตามที่กฏหมายกำหนด

ผู้ร่วมสัมมนาออนไลน์
ผู้ร่วมสัมมนาออนไลน์

โดยได้รับเกียรติจาก น.ส.อินทิรา พฤกษ์รัตนนภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.ซีพี ออลล์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีตอนหนึ่งว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ จึงอยากเชิญชวนและขอความร่วมมือผู้ประกอบการทุกท่านต้องกลับไปทบทวนและพัฒนาระบบมาตรฐานการผลิตเพื่อให้มีคุณภาพตามที่กำหนด เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการร้องเรียน หรือ ลูกค้าทิ้งเราไป โดยที่ไม่ได้บอกกล่าว

ขณะที่ปัจจุบันหน่วยงานราชการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น จะเห็นว่ามีกฎหมายใหม่ๆเกิดขึ้นมาหลายฉบับ ซึ่งเอื้ออำนวยหรือให้ความสะดวกกับองค์กรอิสระ เพื่อที่จะตรวจสอบสินค้า อาหารในตลาดได้ ถ้าเจอว่าสินค้าเหล่านั้นมีปัญหา หรือมีอะไรที่ไม่เป็นไปตามที่โฆษณาก็สามารถรวมตัวกันแล้วฟ้องร้องได้มากยิ่งขึ้น

นายเมธาสิทธิ์ ศิลาสิทธิพร
นายเมธาสิทธิ์ ศิลาสิทธิพร

ต่อจากนั้น นายเมธาสิทธิ์ ศิลาสิทธิพร ผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าเกษตร บมจ.ซีพี ออลล์ มาให้ความรู้ในหัวข้อ “มาตรฐานสินค้าเกษตรกับระบบ GMP โรงคัดบรรจุผัก ผลไม้สดบางชนิด (ป.สธ.ฉบับที่386)” โดยกล่าวว่า ปกติการขายสินค้าเกษตรมีเรื่องการประกันคุณภาพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในส่วนเซเว่นฯ จะดูเรื่องเอกสารด้านคุณภาพ เอกสารอนุญาตการผลิต และจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสถานที่ผลิต (Audit) โรงคัดบรรจุ และเมื่อมีการค้าขายกันแล้ว จะตรวจติดตามสินค้าบนชั้นวาง โดยดูในเรื่องของข้อร้องเรียนต่างๆ รวมไปถึงการสุ่มสินค้ามาตรวจสอบด้านคุณภาพ

ส่วนระบบคุณภาพที่ใช้กันอยู่ หลักการของซีพี ออลล์ จะดูสินค้าเกษตร คือ การปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร GMP (Good Manufacturing Practice) รวมไปถึงการดูเรื่องอายุการเก็บรักษา (Shelf life) ของสินค้า รวมไปถึงระบบการสอบย้อนกลับ หรือ ระบบ “TRACEABILITY” ตลอดจนการจัดการข้อร้องเรียนต่างๆ โดยเน้นด้าน Food Safety และต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับผัก ผลไม้ มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เลขที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กําหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษา ผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก ในเนื้อหาจะมีการกำหนดวิธีผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่เกี่ยวกับ GMP หมายถึงผักและผลไม้สดบางชนิด ไม่ใช่ทุกชนิดที่อยู่ในประเทศไทย  ซึ่งตามประกาศสธ.ฉบับนี้ เมื่อเวลาไปยื่นขอเลข อย. ทางอย.ต้องไปตรวจอสอบสถานที่ผลิตด้วย จึงอยากให้ผู้ประกอบการไปศึกษาประกาศดังกล่าวที่จะบอกว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ถ้าทำตามนั้น จะผ่านแน่นอน โดยในมาตรฐาน GMP มีทั้งหมด 6 หมวดด้วยกัน

หมวดที่ 1 เป็นเรื่องของสถานที่ตั้งและสถานที่ผลิต ต้องสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

หมวดที่ 2 เรื่องเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ง่ายต่อการทำความสะอาดหรือไม่  สามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนลงสู่อาหารได้หรือไม่ ทนต่อการกัดกร่อนได้หรือไม่

หมวดที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต โปรแกรมการผลิต ต้องมีทะเบียนเกษตรกร และต้องมีทะเบียนผู้รวบรวมผลผลิต

หมวดที่ 4 เรื่องสุขาภิบาล เน้นไปที่การป้องกัน กำจัดสัตว์ และแมลง อย่างเช่น มีเครื่องดักแมลงหรือไม่

หมวดที่ 5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด จะพูดถึงน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาในการใช้ในการฆ่าเชื้อต่างๆ  ว่ามีการแยกหรือไม่  ในการจัดเก็บและมีผู้ควบคุมหรือไม่

หมวดที่ 6 เรื่องบุคคลากร และสุขลักษณะของผู้ปฎิบัติงาน คนที่มาทำงานเกี่ยวกับอาหารต้องไม่เป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจตามประกาศของ สธ. และต้องควบคุมการรักษาความสะอาดส่วนบุคคลด้วย

“เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญ บางบริษัทฯ ทำทุกอย่างมาดีหมดเลย แต่มาจบที่บุคคลากร ปรากฎว่าพนักงานที่ทำงาน ไม่ได้ทำตามข้อระเบียบที่กำหนดไว้ ทำให้ทุกอย่างไม่เป็นตามที่ต้องการ สินค้าก็มีปัญหา อาจเจอเส้นผม เจอแมลง ทำให้สินค้าโดนผู้บริโภคร้องเรียน

ในส่วนการแสดงฉลากที่ถูกต้อง ต้องมีชื่อสถานที่ผลิต เลขสถานที่ผลิต มีสัญญลักษณ์ ตามที่ อย.กำหนด อย่างเช่น กล้วยแปรรูปที่ขายอยู่ จะมีวันผลิต วันหมดอายุ  มีล็อตนัมเบอร์ และระบุว่าควรเก็บที่อุณภูมิที่เท่าไหร่ การแสดงสถานที่เลขที่ผลิต

ให้คำปรึกษแก่sme4ออนไลน์
ให้คำปรึกษแก่sme4ออนไลน์

ทั้งนี้หลังจาก 2 วิทยากรบรรยายเสร็จแล้ว ภาคบ่ายเป็นช่วง SME Clinic เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SME ได้ปรึกษาพูดคุยโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญของ ซีพี ออลล์ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการต่างปรึกษาและสอบถาม หลายเรื่อง อาทิ ขั้นตอนการขอ อย. และการตรวจประเมินสถานที่ผลิต ฯลฯ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated