สสก.3 ระยอง ช่วยเกษตรกรระบายมังคุดใช้รถเร่ขายปลีกสู่บริโภคในพื้นที่ห่างไกล
สสก.3 ระยอง ช่วยเกษตรกรระบายมังคุดใช้รถเร่ขายปลีกสู่บริโภคในพื้นที่ห่างไกล

สสก.3 ระยอง ช่วยเกษตรกรระบายมังคุดออกสู่ตลาด แม้ผลผลิตน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ด้วยเกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกทุเรียนมากขึ้นใช้รถเร่ขายปลีกสู่บริโภคในพื้นที่ห่างไกลโดยตรง เกษตรจันทบุรี เผยมีการบริหารจัดการอย่างดีแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทางภายใต้แนวทางบูรณาการกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำการผลิตที่ดี ผลผลิตมังคุดจึงมีคุณภาพ

นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง
นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง

นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 (สสก.3 )จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย หนาวเย็นนาน สลับกับมีฝนตกในช่วงปลายปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 ทำให้ผลไม้ออกดอกได้น้อยไม่เต็มต้น โดยเฉพาะมังคุดในพื้นที่ภาคตะวันออก ปี 2564 มีพื้นที่ปลูกน้อยลง เนื่องจากเกษตรกรจะปรับเปลี่ยนไปปลูกทุเรียนแทน และมีการสางกิ่งมังคุด เพื่อเปิดแสงให้ต้นทุเรียนให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากขายได้ราคาดีและมีตลาดต้องการมาก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีน ผลผลิตมังคุดในปี 2564 จึงมีประมาณ 106,796 ตัน ผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 โดยภาพรวมมังคุดของภาคตะวันออกปี 2564 จะมีผลผลิตประมาณการอยู่ที่ 106,796 ตัน ที่ผ่านมาเกษตรกรเก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 72,667 ตัน คิดเป็นร้อยละ 68.04 โดยมังคุดเกรด A ราคาเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 196.67 บาทต่อกิโลกรัม

ส่วนพื้นที่จังหวัดระยองมีผลผลิตประมาณ 12,724 ตัน เกษตรกรมีการเก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 10,089 ตัน คิดเป็นร้อยละ 79.29 จังหวัดจันทบุรี มีผลผลิตประมาณ 71,695 ตัน เกษตรกรเก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 43,013 ตัน คิดเป็นร้อยละ 59.99 ตัน จังหวัดตราด มีผลผลิตประมาณ 22,377 ตัน เกษตรกรเก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 19,565 ตัน คิดเป็นร้อยละ 87.64 (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564)

203622587_2899091043742918_8795387505160158429_n

ในแต่ละปีการบริหารจัดการผลไม้พื้นที่ภาคตะวันออก จะมีองค์ประกอบการกระจายผลผลิตออกสู่ตลาดในระดับประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะต่างประเทศจะมีการส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ที่เหลือจะเป็นตลาดภายในประเทศ ซึ่งปีนี้มีการส่งเสริมเกษตรกรให้มีการขายทางออนไลน์ และใช้รถเล็ก รถเร่ มากขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงตลาดและผู้บริโภคได้มากขึ้นและรวดเร็ว ที่สำคัญเนื่องจากสถานการณ์ โควิด-19 ทำให้ผู้รับซื้อจำนวนมากไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่สวนของเกษตรกรเหมือนที่ผ่านมาได้ เนื่องจากมีการลดการเคลื่อนไหวของสังคมตามมาตรการลดการระบาดของโควิด-19

นางสาวปัทมา นามวงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี
นางสาวปัทมา นามวงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี

ทางด้าน นางสาวปัทมา นามวงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี กล่าวเสริมว่า พื้นที่จังหวัดจันทบุรีปี 2564 มีผลผลิตมังคุดออกมาประมาณ 70,000 ตัน ซึ่งมีน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา แต่ผลผลิตออกมาได้คุณภาพเนื่องจากที่ผ่านมาทางสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี ได้มีการดูแลเกษตรกรตั้งแต่ต้นทางกลางทางและปลายทาง ก่อนที่ผลผลิตจะออกสู่ตลาด ด้วยการสนับสนุนเกษตรกรให้ดูแลแปลงปลูกอย่างใกล้ชิดและถูกวิธีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ที่สำคัญเกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำการผลิตเป็นแปลงใหญ่ มี Smart Farmer และ Young Smart Farmer ศพก. ตลอดถึงกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่เป็นเครือข่ายในการรับการสนับสนุนด้านต่างๆ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี

“มีการระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี กับกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ที่ผลิตมังคุด มีการประเมินสถานการณ์ผลไม้พร้อมจัดทำข้อมูลที่เป็นการปัจจุบัน แล้วเอามาวางแผนบริหารจัดการ โดยมีคณะกรรมการระดับจังหวัด มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมวางแผน ว่าผลผลิตที่จะออกมามีการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการตลาด”สสก.3 ระยอง ช่วยเกษตรกรระบายมังคุดใช้รถเร่ขายปลีกสู่บริโภคในพื้นที่ห่างไกล

“แต่เนื่องจากสถานการณ์ covid-19 เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบในเรื่องการกระจายผลผลิตออกสู่ตลาด เนื่องจากผู้ซื้อไม่สามารถเดินทางเจ้ามาถึงพื้นที่เพาะปลูกได้เหมือนที่ผ่านมา ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จึงร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และเกษตรกร จัดทำโครงการรถเร่ผลไม้ไทยน่าช้อปภาคตะวันออก ขึ้น เพื่อกระจายผลไม้ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและปลอดภัยสู่ผู้บริโภคตามแหล่งตลาดต่างๆ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยกระจายผลไม้ที่กำลังจะออกมากระจุกตัวในช่วงนี้ โดยเฉพาะมังคุด ซึ่งผลผลิตจะออกมามากหลังจากที่ผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่นทุเรียนมีปริมาณออกสู่ตลาดน้อยลง” นางสาวปัทมา กล่าว

S__18644997

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated