วันนี้ (7 พ.ค. 64) นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการแถลงข่าว “ปิดจ๊อบส่งน้ำฤดูแล้ง พร้อมเดินหน้ารับมือฤดูฝนปี 64” ผ่านระบบ VDO Conference โดยมีนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ดร.สุกันยาณี ยะวิญชาญ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และผู้แทนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมแถลง

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการแถลงข่าวตอนหนึ่งว่า ขอให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความพร้อมทั้งในด้านเครื่องจักร เครื่องมือ และกำลังคน รวมถึงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งได้มอบหมายให้กรมชลประทานกำหนดมาตรการจัดการน้ำและการรับมือฤดูฝนปี 2564 โดยกำชับให้คำนึงถึงการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำให้บริหารจัดการน้ำตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ให้มีการวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน ประสานงานกับทุกภาคส่วน บูรณาการการทำงานร่วมกัน และเน้นย้ำการสื่อสารกับพี่น้องเกษตรกรและพี่น้องประชาชน เพื่อสร้างความเข้าใจ และบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบที่อาจเกินขึ้น รวมถึงสามารถบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

ด้าน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้ง ปี  2563/2564 ที่ผ่านมากรมชลประทาน ได้ดำเนินการจัดสรรน้ำตามแผนที่วางไว้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร และประชาชน อีกทั้งมีการจ้างแรงงานชลประทานทั่วประเทศ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ถึงจำนวน 63,088 คน

สำหรับในช่วงฤดูฝนของปี 2564 มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง รวมทั้งสิ้น 447 แห่ง ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 พฤษาคม รวมจำนวนกว่า 36,442 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่าง ทำให้มีความสามารถในการรองรับน้ำได้อีก ประมาณ  39,626 ล้าน ลบ.ม. พร้อมกันนี้ กรมชลประทานได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำตามความต้องการใช้น้ำในแต่ละกิจกรรม ทั้งการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศน์ การเกษตรและอุตสาหกรรม อย่างเพียงพอ

 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

“นอกจากนี้ กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมในการรับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัย ด้วยการกำหนดพื้นที่ การกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การกำหนดคนเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และประจำพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรต่าง ๆ  รวมจำนวนทั้งสิ้น 5,935 หน่วย ซึ่งกระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่ให้เพียงพอ โดยพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม” อธิบดีกรมชลประทานกล่าว

ด้าน นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการของประเทศไทยนั้น คาดว่า เริ่มประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพ.ค. และสิ้นสุดประมาณกลางเดือนต.ค. 2564 ซึ่งต้องขอให้รอประกาศอย่างเป็นทางการของกรมอุตุนิยมวิทยาอีกครั้ง เพราะขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามระบบลมอยู่

“สำหรับการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนสะสมในปี 2564 คาดว่า จะมีปริมาณสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติของประเทศ และลักษณะของฤดูฝนในช่วงต้นนี้จากการวิเคราะห์พบว่า จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปี 2551 ที่ผ่านมา ส่วนปริมาณฝนที่ตกลงมาตั้งแต่ช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. ของปี 2564 พบว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคเหนือและภาคกลางตอนบนมีปริมาณฝนตกสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย

7564_๒๑๐๕๐๗_2

รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวต่อไปว่า สำหรับฤดูฝนของปี 2564 พบว่า ในช่วงกลางเดือนพ.ค.ถึงเดือนมิ.ย. จะมีปริมาณต่อเนื่องและมากขึ้น โดยมีปริมาณฝนตกในเกณฑ์ 40 – 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ และอาจมมีบางช่วงที่จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ด้วยอาจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นบริเวณอ่างเบงกอลแล้วอาจทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน และเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ดังนั้นต้องขอให้ติดตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เพราะอาจจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้

“ขณะเดียวกันคาดว่าจะเกิดสภาวะที่เรียกว่าฝนทิ้งช่วงในช่วงปลายเดือนมิ.ย.ถึงกลางเดือนก.ค. เนื่องด้วยร่องมรสุมจะเคลื่อนตัวไปพาดผ่านประเทศจีนตอนใต้ และช่วงเดือนนี้มรสุมจะอ่อนกำลังลง เพราะฉะนั้นปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะลดลง ทำให้เกิดปัญหาต่อเกษตรกรได้ในเรื่องของการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน”

S__65658946

รองอธิบดีกรมอุตนิยมวิทยากล่าวต่อไปว่า จากนั้นตั้งแต่กลางเดือนก.ค.- เดือนก.ย. แนวร่องมรสุมจะเลื่อนมาพาดผ่านประเทศไทย และมรสุมจะมีกำลังแรงขึ้น ฝนจะมีการตกชุกหนาแน่นในเกณฑ์ 60 – 80 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ และทำให้มีฝนตกหนักได้หลายพื้นที่ และหนักมากในบางแห่ง ดังนั้นในช่วงนี้จึงต้องระมัดระวังในเรื่องของการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่

สำหรับช่วงเดือน ต.ค. คาดว่า ในพื้นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จะมีปริมาณฝนเริ่มลดลง และมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และฝนตกหนักบางแห่ง

“สำหรับปี 2564 คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนเข้ามาสู่ประเทศไทยประมาณ 2 – 3 ลูก ในช่วงเดือน ส.ค – ก.ย. แต่ไม่ได้หมายความในเดือน ก.ค. จะไม่มีโอกาสเกิดพายุขึ้นมา ยังมีโอกาสอยู่ แต่แนวทางการเคลื่อนตัวจะอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงหนือตอนบน หรือภาคเหนือ สิ่งที่ต้องระมัดระวังในช่วงเดือนส.ค-ก.ย. ด้วยมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรค่อนข้างมาก ไม่ว่า โอกาสการเกิดพายุ แนวร่องมรสุมที่ค่อนข้างแรง ดังนั้นเดือน ส.ค.-ก.ย. เป็นเดือนที่ต้องเตรียมการป้องกัน เพราะมีฝนตกชุกหนาแน่น” รองอธิบดีกรมอุตนิยมวิทยากล่าว

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated