กรมการข้าวถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
กรมการข้าวถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี จากแปลงนาสาธิตโครงการทหารพันธุ์ดี กรมพลาธิการทหารบก จ.นครราชสีมา แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

กรมการข้าว โดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมาและศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา ร่วมกิจกรรมพัฒนาพื้นที่แปลงนาสาธิตตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ภายในโครงการทหารพันธุ์ดี กรมพลาธิการทหารบก ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแปลงทดลองผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่เพื่อรองรับความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีสำหรับการปลูกเพื่อการบริโภคต่อไป

กรมการข้าวถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง

นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเมื่อ วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการทหารพันธุ์ดี กรมพลาธิการทหารบก ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และกรมการข้าว โดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมา เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้เข้าดูแลดำเนินการทดลองปลูกข้าวเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีในฤดูการผลิต 2562/63ได้ดำเนินการปลูกข้าว 3 แปลง แปลงละ 1 งาน จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์กข83 (มะลิดำหนองคาย 62) ได้ผลผลิต 200 กิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่) พันธุ์กข69 (ทับทิมชุมแพ) ได้ผลผลิต 210 กิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ย 840 กิโลกรัมต่อไร่) และข้าวไร่หอมดง ได้ผลผลิต 150 กิโลกรัม (ผลผลิตเฉลี่ย 600 กิโลกรัมต่อไร่) กรมการข้าว จึงขอพระราชทานพระราชานุญาตน้อมเกล้าฯถวายแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ตามพระราชอัธยาศัยต่อไปกรมการข้าวถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดนี้ กรมการข้าวนำไปวิเคราะห์คุณภาพในห้องปฏิบัติการ ณ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครราชสีมา ผลการวิเคราะห์สรุปว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว สามารถนำไปขยายผลส่งเสริมปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อการบริโภคต่อไปได้
สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำมาทดลองปลูกเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีนี้ กรมการข้าวได้พิจารณาถึงความเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ โดยแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น ดังนี้

กรมการข้าวถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
กรมการข้าวถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวสวยเหนียว นุ่ม มีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ด 8 สัปดาห์ มีสารต้านอนุมูลอิสระ กรดเฟอรูลิค แกมมาออไรซานอล วิตามินอี ฟีนอลิค และฟลาโวนอยด์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ต้านทานต่อโรคใบไหม้ในระยะกล้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานและนาน้ำฝน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโรคไหม้ระบาด หรือพื้นที่ที่ต้องการข้าวคุณภาพพิเศษ ซึ่งมีตลาดเฉพาะสำหรับกลุ่มผู้บริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ

กรมการข้าวถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯข้าวเจ้าพันธุ์ กข69 (ทับทิมชุมแพ) เป็นข้าวเจ้าเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ไม่ไวต่อช่วงแสง ทรงต้นเตี้ย คุณภาพเมล็ดและคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี ข้าวกล้องหุงสุกนุ่มและมีรสชาติดี มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์สูง และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง งานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่าสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และมะเร็งท่อน้ำดี รวมถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลและภาวะความจำเสื่อม กรมการข้าว ได้มีมติรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 สำหรับข้าวพันธุ์นี้ปลูกได้ดีในทุกภูมิภาค และก่อนที่จะได้รับการประกาศรับรองพันธุ์นั้น เป็นข้าวที่เข้าโครงการข้าวโภชนาการสูงและโครงการข้าวเพื่อตลาดเฉพาะ โดยสนับสนุนชาวนาในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ หลายแห่งนำร่องในการปลูกและการตลาดในปี พ.ศ. 2558 ปัจจุบันมีการผลิต การตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจรโดยเครือข่ายชาวนาในทุกภูมิภาค มีการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าอยู่เสมอ อีกทั้งมีการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์
ข้าวกล้องและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่งขายในตลาดต่างประเทศข้าวไร่หอมดง เป็นข้าวพื้นเมืองของชาวญัฮกุร (อ่านว่า ญะ-กรุ้น) ซึ่งเป็นคนที่อาศัยบนที่สูงตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ยๆ แถบเทือกเขาพังเหย ในป่าดงจึงเรียกชื่อว่า ข้าวหอมดง เป็นข้าวไร่ที่มีคุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี มีความนิ่ม มีกลิ่นหอม เหมาะกับการปลูกในสภาพไร่ กรมการข้าวโดยศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ได้ปลูกศึกษาตามโครงการคัดสายพันธุ์บริสุทธิ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น

กรมการข้าวถวายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯผลการศึกษาพบว่า ข้าวหอมดงนี้นิยมปลูกในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเพชรบูรณ์ เกษตรกรปลูกข้าวโดยใช้แรงงานคนในการหยอด หรือหว่าน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 15-25 กิโลกรัมต่อไร่
ได้ผลผลิตประมาณ 350 -450 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือน และแลกเปลี่ยนกัน
ในหมู่บ้าน จะนำออกจำหน่ายในตลาดชุมชนค่อนข้างน้อยเพราะมีปริมาณไม่เพียงพอ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated