ต้องการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง มีต้นแบบให้ดูแล้ว
นี่คือสาหร่ายพวงองุ่นที่เพาะเลี้ยงได้จากโครงการส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa Lentillifera) แบบอินทรีย์เพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้กับชุมชนชายฝั่ง

จากการลงพื้นที่จังหวัดตรังของทีมงาน “เกษตรก้าวไกล” ไปกับคณะของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อเร็วๆนี้ ได้เดินทางไปที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตรัง เพื่อติดตามความคืบหน้าของงานพัฒนาพื้นที่ ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ คือการกำหนดบทบาทให้มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ตามภูมิภาคในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศได้ลงมาร่วมมือกับชุมชนเพื่อทำการศึกษาวิจัยอาชีพหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและสิ่งสำคัญคือการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความั่งยืนการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง

หนึ่งในโครงการที่มทร.ศรีวิชัยตรังนำมาเสนอครั้งนี้คือ โครงการส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa Lentillifera) แบบอินทรีย์เพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้กับชุมชนชายฝั่ง ภายใต้การจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนจังหวัดตรัง ซึ่งขณะนี้ถือว่าโครงการดังกล่าวสำเร็จเป็นรูปธรรมสามารถให้เกษตรกรหรือผู้สนใจได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้แล้วการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง

ผศ.มาโนช ขำเจริญ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีการประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย ได้เปิดเผยว่า โครงวิจัยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นแบบอินทรีย์และการแปรรูปสาหร่ายเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยได้มีการจัดตั้งฟาร์มต้นแบบการเลี้ยงสาหร่าย พวงองุ่นแบบอินทรีย์ จำนวน 2 แห่ง คือที่ มทร. ศรีวิชัยตรัง และที่ศูนย์วิจัยชุมชนบ้านปากคลอง ตำบลบ่อหิน อีกทั้งมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบการแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่น 3 ผลิตภัณฑ์ พร้อมการจัดทำเป็นคู่มือการเพาะเลี้ยง และการแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่นแบบอินทรีย์อีกด้วยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง

“ความรู้ที่จะได้รับตามโครงการนี้ก็คือการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในโรงเรือน ในภาชนะขนาดเล็กได้แก่บริเวณหรือในถังไฟเบอร์ใช้วิธีการเลี้ยงแบบอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ น้ำที่ได้จากการเลี้ยงแม่พันธุ์ปูม้า หรือทำร่วมกับการทำธนาคารปูม้า น้ำต้มปูหรือปลานำมาใช้เลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ได้แก่ กะโป๊ะ ข้าวเกรียบ และวิธีการยืดอายุการเก็บรักษาด้วยการแช่ในสารละลายน้ำเกลือ”การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง

ผศ.มาโนช ขำเจริญ กล่าวอีกว่า เมื่อโครงการนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในพื้นที่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ที่มีการรวมกลุ่มการเลี้ยงและแปรรูปสาหร่ายพวงองุ่น เมื่อผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ทางกลุ่มจะรวบรวมจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์สาหร่ายสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ และได้นำรายได้เข้ากลุ่มมาจัดสรรแบ่งให้สมาชิกในกลุ่มทำให้ชาวชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลัก ในเชิงสังคม การรวมกลุ่มของคนในชุมชนทำให้เกิดความร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน มีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้นและทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นแบบอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทำให้น้ำทิ้งจากการเลี้ยงสาหร่ายไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้น้ำทะเลที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำนำมาเลี้ยงสาหร่ายเป็นการดึงเอาสารอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารจากน้ำมาใช้ในการเจริญเติบโตของสาหร่ายทำให้น้ำสะอาดขึ้นก่อนปล่อยลงสู่ทะเลการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง

เกษตรกรหรือประชาชนผู้สนใจ อยากจะศึกษาดูงานก็สามารถติดต่อได้ โดยตรงกับ ผศ.มาโนช ขำเจริญ สาขาเทคโนโลยีการประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง หรือที่ ผู้ใหญ่เกษม บุญญา ศูนย์วิจัยชุมชนผู้ใหญ่บ้านปากคลอง ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากคลิปที่นำมาแสดงไว้ด้านบน หรือคลิกไปชมได้ที่ https://youtu.be/Ze5e9KKfUKU จะมีเบอร์โทร.และข้อมูลเบื้องต้นแสดงไว้อย่างชัดเจนการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง การเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น มทร.ศรีวิชัยตรัง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated