รมต.อว.หนุนงานวิจัยเชิงพื้นที่ ชูงานวิจัยด้าน “วัฒนธรรม” สู่โมเดลการขับเคลื่อนประเทศ
ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าผลการดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะผู้บริหารจากกระทรวง อว. ลงพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน บทบาทมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ : นวัตกรรมการสร้างเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรพื้นถิ่นและภูมิวัฒนธรรม” โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีในพื้นที่ระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาคมท้องถิ่น

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก กล่าวว่า สิ่งที่น่าชื่นชมจากการลงพื้นที่ในแต่ละครั้ง นอกจากการได้เห็นศักยภาพนักวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่แล้ว ยังได้เห็นแนวคิดของชาวบ้านที่เริ่มเข้าใจว่า“งานวิจัย” และเห็นประโยชน์ของงานวิจัย ซึ่งทางกระทรวงฯ จะเข้ามาสนับสนุนในส่วนนี้ต่อเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

“เวลานี้ชาวบ้านพูดแล้วว่า รู้จักงานวิจัย เขาทำวิจัยเป็นแล้ว ดังนั้นผมคิดว่าเราจะต้องสนับสนุนงานวิจัยที่ทำให้คนเป็นนักวิจัย ที่ไม่ใช่เฉพาะบุคลากรในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ต้องให้คนทั่วไปโดยเฉพาะชาวบ้านเข้ามาร่วมเป็นนักวิจัยด้วย โดยต้องเป็นการทำวิจัยแบบที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด นั่นคือการคิด ใคร่ครวญ หาความรู้ และสร้างความรู้ เพราะการทำวิจัยจะได้ผลจริงส่วนหนึ่งคือ ต้องทำให้วิจัยเป็น ‘วัฒนธรรม’ หรือเป็น ‘วิถีชีวิต’ และต้องเป็นงานวิจัยที่ออกนอกมหาวิทยาลัย โดยทางกระทรวง อว.จะสนับสนุนให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท.เข้ามาดำเนินการตรงนี้ต่อไป”

ขณะเดียวกัน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก ยังเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ผ่านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สร้างสรรค์ เพื่อเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรม พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และวิสาหกิจเชิงวัฒนธรรม โดยให้ภาคประชาสังคมเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก มีภาคท้องถิ่น ภาควิชาการโดยมหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และภาครัฐ เข้ามาหนุนเสริมตามพันธกิจของแต่ละหน่วยงานหนุนงานวิจัยเชิงพื้นที่ ชูงานวิจัยด้าน “วัฒนธรรม”

ด้าน ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า งานวิจัยที่ บพท. สนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ได้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยศิลปากรรวมถึงมหาวิทยาลัยในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นงานวิจัยเพื่อสร้าง “พื้นที่การเรียนรู้ร่วมกัน” หรือ Learning Platform ของกลไกความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่จากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่นั่นเองหนุนงานวิจัยเชิงพื้นที่ ชูงานวิจัยด้าน “วัฒนธรรม”

การดูงานครั้งนี้มีงาน 2 โมเดล ได้แก่ โมเดลที่ 1 งานสร้างเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรม งานวิจัยในรูปแบบนี้เป็นการพาชาวบ้านมาร่วมสร้างกลไกที่เรียกว่าประชาคมวัฒนธรรม โดยสำรวจทุนทางศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ที่เป็นรากเหง้าของเขาด้วยรูปแบบใหม่เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น พร้อมกับฐานทุนดังกล่าว มาอนุรักษ์และและสืบสานไปพร้อมกัน โดยดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกระบวนการ ปรากฎว่าการทำงานรูปแบบนี้ทำให้ประชาคม และชาวบ้านหรือคนในชุมชน ลุกขึ้นมาคิดและลงมือทำด้วยตัวเอง แล้วใช้กระบวนการวิจัยในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการค้นหารากเหง้าของตัวเองและนำมาคลี่ภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แล้วนำมาเรียนรู้สานต่อเพื่อปรับรูปแบบการดำรงชีวิตให้เข้ากับวิถีในปัจจุบัน นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจของชุมชนได้จริง ๆ สุดท้ายก็กลายเป็นงานวิจัยที่กินได้ และที่สำคัญก็คือเราสร้างคนในชุมชน กลไกในชุมชนเพื่อลุกขึ้นมาจัดการตรงนี้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นต่อไปไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเขาก็จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาได้ด้วยตัวของเขาเอง”

“งานโมเดลที่ 2 งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มุ่งเน้นการขับเคลื่อนพื้นที่ชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ด้วยการสร้างกลไกการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนนับล้านบาท เกิดการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมและตลาดออนไลน์ Local Business ที่ชาวบ้านได้เรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยหนุนงานวิจัยเชิงพื้นที่ ชูงานวิจัยด้าน “วัฒนธรรม”

อนึ่ง การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าผลการดำเนินงานฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย

  1. พื้นที่จังหวัดตรัง เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ที่มีตั้งแต่งานวิจัยเชิงนโยบาย เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อันดามันตอนล่างบนฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนงานวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง รวมถึงการใช้นวัตกรรมเข้ามายกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร บนวิถีเมืองตรังคุณค่าแห่ง : เขา ป่า นา เล ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกต่อยอดเป็นงานวิจัยด้านการตลาดเพื่อสร้างตลาดออนไลน์ของสินค้าชุมชนหนุนงานวิจัยเชิงพื้นที่ ชูงานวิจัยด้าน “วัฒนธรรม”
  1. พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนากลไกการดูดซับเศรษฐกิจผ้าพื้นถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นตลาด ซึ่งใช้กลไกเศรษฐกิจภายในมหาวิทยาลัยเข้ามาทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนผู้ผลิตผ้าทอพื้นถิ่น นอกจากนี้ยังลงพื้นที่อำเภอท่าศาลา ดูงานของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่รับผิดชอบโครงการโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เกี่ยวกับการต่อยอดโครงการธนาคารปูม้า และสุดท้ายเป็นชุดโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เข้าไปศึกษาทุนทางวัฒนธรรมของคนในอำเภอทุ่งสง และสามารถต่อยอดเป็นหลาดชุมทางทุ่งสง โดยสร้างเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม จนเกิดการกระจายรายได้และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้คนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated