กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนสร้างอัตลักษณ์ผลไม้หวังเพิ่มมูลค่าให้เกษตรกรแต่ละท้องถิ่น
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร โชว์ทุเรียนสาลิกา ของดี จ.พังงา

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ผ่านโครงการส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ภาคตะวันออกและภาคใต้ เร่งส่งเสริมรวมกลุ่มแปลงใหญ่และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หวังสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกรในแต่ละท้องถิ่น

เสวนาสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ท้องถิ่น
เสวนาสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ท้องถิ่น
กำลังชื่นชมผลไม้อัตลักษณ์ท้องถิ่น
กำลังชื่นชมผลไม้อัตลักษณ์ท้องถิ่น

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit board) เปิดเผยว่า ผลไม้นับเป็นสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งไทยเป็นผู้นำการผลิตและส่งออกผลไม้เมืองร้อนที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน มีมูลค่าการส่งออกผลไม้ จำนวน 45,613 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.22 ปัจจุบันเกษตรกรมีการปลูกไม้ผล 57 ชนิด พื้นที่ประมาณ 7.7 ล้านไร่ ผลผลิตปีละประมาณ 10.81 ล้านตัน และสืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งตรงกับฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) และภาคเหนือ (ลิ้นจี่) หลายฝ่ายกังวลว่าจะกระทบต่อการบริหารจัดการผลไม้นั้น กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะเลขานุการ Fruit board ได้ร่วมกับหน่วยงานหลายภาคส่วนกำกับติดตามสถานการณ์การผลิต – การตลาดตลอดฤดูกาลที่ผ่านมา เพื่อช่วยกระจายผลผลิตและระบายสินค้าในหลายช่องทางทั้งระบบออฟไลน์และออนไลน์ จนกระทั่งสถานการณ์คลี่คลายสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ ขณะนี้ใกล้สิ้นสุดฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออกและลิ้นจี่จากภาคเหนือแล้ว โดยมีคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักในการดำเนินงาน วางแผนการผลิตเชื่อมโยงกับแผนการตลาดล่วงหน้าที่เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายตลาดนำการผลิต ซึ่งพบว่า ผลไม้ภาคตะวันออกทยอยเก็บเกี่ยวใกล้หมดแล้ว ได้แก่ ทุเรียน เก็บเกี่ยวแล้ว 514,619 ตัน คิดเป็นร้อยละ 93.56 คงเหลือ 35,416 ตัน พันธุ์หมอนทอง เกรด A ราคาหน้าสวนเฉลี่ยอยู่ที่ 104.84 บาท/กก. มังคุด เก็บเกี่ยวแล้ว 192,479 ตัน คิดเป็นร้อยละ 90.64 คงเหลือ 19,866 ตัน เกรด A ราคาหน้าสวนเฉลี่ย 65.50 บาท/กก. เงาะ เก็บเกี่ยวแล้ว 186,787 ตัน คิดเป็นร้อยละ 88.68 คงเหลือ 23,850 ตัน พันธุ์โรงเรียน เกรดคละราคาหน้าสวนเฉลี่ย 18.36 บาท/กก. ลองกอง เก็บเกี่ยวแล้ว 9,084 ตัน คิดเป็นร้อยละ 40.40 คงเหลือ 13,400 ตัน เกรด A ราคาหน้าสวนเฉลี่ย 36.50 บาท/กก. และลิ้นจี่ ภาคเหนือเก็บเกี่ยวแล้ว 24,447 ตัน คิดเป็นร้อยละ 85.25 คงเหลือ 4,229 ตัน พันธุ์ฮงฮวย เกรด AA ราคาหน้าสวนเฉลี่ย 39.63 บาท/กก.

นายธีรภัทร อุ่นใจ เกษตรกร จ.จันทบุรี
นายธีรภัทร อุ่นใจ เกษตรกร จ.จันทบุรี
นายวีรวัฒน์ จีรวงศ์ เกษตรกร จ.ชุมพร
นายวีรวัฒน์ จีรวงศ์ เกษตรกร จ.ชุมพร

ส่วนผลไม้ภาคใต้ปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตตามฤดูกาล ดังนี้ ทุเรียน 554,486 ตัน มังคุด 144,537 ตัน เงาะ 49,993 ตัน ลองกอง 49,988 ตัน และลำไย (ภาคเหนือ) 386,065 ตัน สำหรับโครงการส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ประจำถิ่น กรมส่งเสริมการเกษตรได้ริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 เนื่องจากเล็งเห็นว่าไม้ผลหลายชนิด เช่น ทุเรียน ลำไย มังคุด มะม่วง เงาะ ลองกอง ส้มโอ สละ จำปาดะ ล้วนแล้วแต่เป็นผลไม้ประจำท้องถิ่นหรือที่เรียกกันว่า “อัตลักษณ์ผลไม้” มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามบริบทของพื้นที่ จึงทำให้เหมาะสมที่จะส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพให้มีมาตรฐาน เกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ซึ่งเป็นสินค้าที่มีศักยภาพและมีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาการผลิตไม้ผลสู่ 4.0 ให้มากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รับทราบเรื่องราว (Story) คุณค่า คุณประโยชน์ และแหล่งที่มาที่ถูกต้องของผลไม้ จนส่งผลให้เกิดการเพิ่มมูลค่าจากการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐาน และสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ต่อไปในอนาคต โดยบริหารจัดการผ่านกระบวนการเกษตรแปลงใหญ่อย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้าคุณภาพจากสวนที่ได้มาตรฐาน เตรียมพร้อมสู่มาตรฐานการส่งออก ยกระดับเกรดของสินค้าด้วยการรับรองคุณภาพ GAP การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย และสื่อสารเข้าใจง่ายสำหรับผู้บริโภคต่างท้องถิ่น ตลอดจนให้มีการแปรรูปเพิ่มมูลค่า รวมทั้งการเชื่อมโยงตลาดกับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

อธิบดี และ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ถ่ายภาพร่วมกับเกษตรกร
อธิบดี และ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ถ่ายภาพร่วมกับเกษตรกร

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากภาคใต้นับเป็นภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง มีการผลิตไม้ผลหลายชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นสินค้าอัตลักษณ์สร้างชื่อประจำจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น “ทุเรียน” นับว่าเป็นราชาแห่งผลไม้ มีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกบริโภคกันอย่างมาก โดยเฉพาะทุเรียนอีกสายพันธุ์หนึ่งทางภาคใต้ที่มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน นั่นคือ “ทุเรียนสาลิกา” ของดีเมืองพังงา หรือที่เรียกกันเป็นภาษาถิ่นว่า “ทุเรียนสากา” มีรสชาติหวานมันและมีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ ทุเรียนสาลิกาพังงา มีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา พื้นที่ประมาณ 320 ไร่ เป็นทุเรียนพื้นบ้านพันธุ์แท้ดั้งเดิม ลักษณะผลกลมสวย ผลโตมีน้ำหนักประมาณ 1.5 – 2 กิโลกรัมต่อผล เปลือกบาง เนื้อสุกเป็นสีเหลืองเข้ม แกนกลางมีสีสนิม เมล็ดเล็กและลีบ รสชาติหวานแหลม เนื้อละเอียด ไม่เละ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีฤดูกาลเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ยังมีผลไม้อื่น ๆ ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น เช่น ส้มโอทับทิมสยาม มังคุดในวง เงาะ ลองกอง สละ และจำปาดะ เป็นต้น จึงทำให้เหมาะที่จะส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสู่มาตรฐานการส่งออก ควบคู่ไปกับการพัฒนาการแปรรูป เพื่อทำให้การผลิตไม้ผลของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เกิดการพัฒนาต่อยอดสินค้าไม้ผลได้อย่างครบวงจร และขอเชิญชวนคนไทยร่วมอุดหนุนผลไม้ไทย “ซื้อสินค้าเกษตรไทย เกษตรกรอยู่ได้ ประเทศไทยอยู่รอด” พร้อมทั้งสามารถเลือกซื้อสินค้าของเกษตรกรผ่านเว็บไซต์ www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com ได้ ซึ่งมีสินค้าเกษตรคุณภาพรวม 9 หมวดหมู่ กว่า 500 ชนิดสินค้าที่คัดสรรจากเกษตรกรโดยตรง ขณะนี้มียอดสั่งซื้อแล้วคิดเป็นมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาทกรมส่งเสริมการเกษตร หนุนสร้างอัตลักษณ์ผลไม้กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนสร้างอัตลักษณ์ผลไม้กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนสร้างอัตลักษณ์ผลไม้กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนสร้างอัตลักษณ์ผลไม้กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนสร้างอัตลักษณ์ผลไม้หวังเพิ่มมูลค่าให้เกษตรกรแต่ละท้องถิ่น

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated