“กอนช.” หยุดแล้ง เท่ากับหยุดซ้ำเติมประชาชนโควิด-19
“กอนช.” หยุดแล้ง เท่ากับหยุดซ้ำเติมประชาชนโควิด-19

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. นับเป็นหน่วยงานซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งเพื่ออำนวยการบูรณาการ และประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนโดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการ กอนช. ทำหน้าที่ในการควบคุมวิกฤติน้ำในภาวะรุนแรงหรือคาดการณ์ว่าจะรุนแรง (ระดับ 2) โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยให้อยู่ในวงจำกัดที่ผ่านมา พล.อ.ประวัตร ได้แสดงความเป็นห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้งจะส่งผลกระทบซ้ำเติมประชาชนและเกษตรกรในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข็นมาตรการสำคัญออกมาเพื่อรับมืออย่างต่อเนื่องและให้ทันต่อสถานการณ์ภัยเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและเกษตรกร

“กอนช.” หยุดแล้ง เท่ากับหยุดซ้ำเติมประชาชนโควิด-19
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยถึงความก้าวหน้าโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ว่า ตามที่มติ ครม. 7 ม.ค. 2563 ได้อนุมัติให้ดำเนินการโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันบรรเทาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบเป็นวงกว้าง ในฤดูแล้งปี 2562/63 ได้อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ ดำเนินการใน 44 จังหวัดทุกภาคทั่วประเทศ จำนวน 2,041 โครงการ กรอบวงเงินประมาณ 3,079 ล้านบาทนั้น

“กอนช.” หยุดแล้ง เท่ากับหยุดซ้ำเติมประชาชนโควิด-19

ข้อมูล ณ วันที่ 12 พ.ค. 63 ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว จำนวน 1,424 โครงการ วงเงินประมาณ 2,280 ล้านบาท ใช้งบประมาณท้องถิ่นดำเนินการแล้ว 399 โครงการ อยู่ระหว่างรอรับการจัดสรรงบประมาณ 202 โครงการ โดยมีโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 787 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 55.26 ของจำนวนโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว แบ่งเป็น  แบ่งเป็น 1.ขุดบ่อบาดาลรวม 752 แห่ง ประกอบด้วย ภาคเหนือ 338 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 327 แห่ง ภาคกลาง 72 แห่ง ภาคตะวันออก 13 แห่ง ภาคใต้ 2 แห่ง 2. ซ่อมแซมระบบประปา ภาคเหนือ 10 แห่ง 3.จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน รวม 5 แห่ง ภาคเหนือ 4 แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง 4.วางท่อน้ำดิบ รวม 11 แห่ง ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง ภาคใต้ 2 แห่ง ซึ่งจากผลการดำเนินการในส่วนโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จสามารถเพิ่มปริมาณน้ำดิบผลิตน้ำประปารวม 60.51 ล้าน ลบ.ม./ปี แบ่งเป็น ภาคเหนือ 7.29 ล้าน ลบ.ม./ปี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 43.09 ล้าน ลบ.ม./ปี, ภาคใต้ 10.13 ล้าน ลบ.ม./ปี  ผู้ใช้น้ำประปารวมกว่า 183,000 ราย มีน้ำประปาสำรอง 0.70 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งดำเนินการใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดขอนแก่น

“กอนช.” หยุดแล้ง เท่ากับหยุดซ้ำเติมประชาชนโควิด-19

ขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำบาดาล 39.76 ล้าน ลบ.ม./ปี แบ่งเป็น ภาคเหนือ 20.64 ล้าน ลบ.ม./ปี, ภาคกลาง 2.42 ล้าน ลบ.ม./ปี, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15.43 ล้าน ลบ.ม./ปี, ภาคตะวันออก 0.57 ล้าน ลบ.ม./ปี และ ภาคใต้ 0.70 ล้าน ลบ.ม./ปี ประชาชนได้รับประโยชน์รวมกว่า 130,000 ครัวเรือน ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติจะมีการติดตามเร่งรัดหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนภายในเดือนพฤษภาคมนี้

“กอนช.” หยุดแล้ง เท่ากับหยุดซ้ำเติมประชาชนโควิด-19

นอกจากนี้ รัฐบาลยังสนับสนุนที่โครงการเร่งด่วนเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับกักเก็บน้ำในฤดูฝน ปี 2563 ซึ่งเน้นแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อเพิ่มการลงทุนภาครัฐ ช่วยกระตุ้นการซื้อวัสดุและจ้างแรงงานคนในท้องถิ่น จำนวน 6,640 แห่ง และอนุมัติให้ดำเนินการโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 (เพิ่มเติม) เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับพื้นที่ปลูกไม้ผลยืนต้น จำนวน 86 แห่ง และพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 80 แห่ง โดยโครงการดังกล่าวดำเนินการในพื้นที่ 72 จังหวัด ทุกภาคทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 6,806 แห่ง วงเงินประมาณ 8,269 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นประมาณ 200 ล้าน ลบ.ม. ดำเนินการโดย 11 หน่วยงาน ประกอบด้วยกรมชลประทาน กรมประมง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำ กรมเจ้าท่า การประปาส่วนภูมิภาค กรมการทหารช่าง

“กอนช.” หยุดแล้ง เท่ากับหยุดซ้ำเติมประชาชนโควิด-19ซึ่งความก้าวหน้าล่าสุด ณ วันที่ 12 พ.ค. 63 ขณะนี้ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว จำนวน 1,836 โครงการ วงเงินประมาณ 5,500 ล้านบาท โดยมีโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 107 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.82 ของจำนวนโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว แบ่งเป็น 1.ฟื้นฟูแหล่งน้ำเดิม 88 แห่ง ภาคเหนือ 11 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงหนือ 47 แห่ง ภาคกลาง 16 แห่ง ภาคใต้ 5 แห่ง ภาคตะวันออก 9 แห่ง 2. ก่อสร้างแหล่งน้ำ พร้อมระบบ 6 แห่ง ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 แห่ง  ภาคใต้ 1 แห่ง 3.ก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่ 12 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง ภาคใต้ 1 แห่ง 4.เชื่อมโยงแหล่งน้ำ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง ซึ่งโครงการที่ดำเนินการดังกล่าวสามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้ 29.91 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 115,662 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 39,316 ครัวเรือน

เรียกว่างานนี้รัฐบาลทุ่มเทเอาใจต่อปัญหาของประชาชนและเกษตรกรอย่างใกล้ชิด ระดมพลทุกหน่วยงานในการบูรณการในการบริหารจัดการน้ำของประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์แล้งในปีนี้ไปให้ได้ เพื่อหยุดการซ้ำเติมปัญหาของประชาชนจากโควิด-19

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated