พิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ณ บ้านหนองผักบุ้ง ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดย บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา ได้ร่วมดำเนินการก่อตั้งขึ้น โดยมี นายสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานในพิธี (ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้ที่ https://bit.ly/33aFuCS)

สำหรับพิธีเปิดนั้น จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ดังรายละเอียดตามคลิปที่นำมาเสนอข้างต้นนี้ (คลิปที่ 1-สำหรับคลิปที่ 2 จะเป็นการนำเสนอเรื่องราวของชุมชนหนองผักบุ้ง ตั้งแต่เริ่มแรกจนได้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ) ซึ่งจะมีทั้งหมด 8 ขั้นตอนสำคัญ ความยาว 45.19 นาที

  1. การแสดงชุดนวัตกรรมสร้างสุข ชุมชนอุ่นใจ โดยเยาวชนโรงเรียนเพชรพิทยาคม (นาที 00-7.00)
  2. คำกล่าวรายงานของป้าเภา (นางบุญเลิศ ปราบภัย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา) (นาที 19-11.00)
  3. คำกล่าววัตถุประสงค์การตัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ โดยนายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด (นาที 30-15.45)
  4. คำกล่าวเปิดของประธานในพิธี โดย นายสาคร รุ่งเรือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ (นาที 16.00-20.45)
  5. พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยแขกผู้มีเกียรติจากภาคส่วนต่างๆ (นาที 21.00-26.00)
  6. ประธานในพิธีเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ ซึ่งมีทั้งหมด 12 สถานี (นาที่ 26.20—30.40)
  7. ประธานในพิธีเยี่ยมชมแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างศูนย์เรียนรู้ฯ (นาที 45-35.07)
  8. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน (นาที 35.08-45.19)

เหตุผลที่ “เกษตรก้าวไกล” นำคลิปมาให้ดูแบบเต็มๆ ก็เพื่อที่จะให้เป็นเป็นแนวทางของชุมชนอื่นๆ ที่กำลังพัฒนาเพื่อยกระดับสู่การเป็นชุมชนต้นแบบต่อไป

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-หนองผักบุ้ง

อนึ่ง ชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา เกิดจากการรวมกลุ่มของแม่บ้านเกษตรกรในปี 2548 ด้วยพลังผู้หญิงที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นที่ร่วมมือบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิหนองผักบุ้งพัฒนา ในปี 2549 ที่เกิดเป็นความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกทั้งชุมชน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัดอีกทั้งชอบเรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้และปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสมาชิกที่มาจากลูกหลานเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ เข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มทำให้กลุ่มมีไอเดียสร้างสรรค์มีความเข้าใจ และความพร้อมเปิดรับและยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ มีความโดดเด่นเรื่องการบริหารจัดการน้ำและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่ผลผลิตหลักของกลุ่มนี้คือการปลูกข้าวรวมถึงปลูกพืชหมุนเวียนเมื่อสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวได้แก่ถั่วเขียวข้าวโพดและดอกปอเทือง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated