เกษตรฯ ติวเข้ม จนท.บริหารจัดการไม้ผลคุณภาพพร้อมศึกษาระบบโลจิสติกส์พื้นที่เศรษฐกิจภาคอีสานตอนบน
เกษตรฯ ติวเข้ม จนท.บริหารจัดการไม้ผลคุณภาพพร้อมศึกษาระบบโลจิสติกส์พื้นที่เศรษฐกิจภาคอีสานตอนบน

กรมส่งเสริมการเกษตร ติวเข้มเจ้าหน้าที่ไม้ผลทั่วประเทศ มุ่งพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ด้านการผลิต พร้อมวางแผนบริหารจัดการผลไม้ส่วนเกิน โดยการศึกษาระบบ logistic และ supply chain จากแหล่งผลิตและกระจายสินค้าในเขตพื้นที่เศรษฐกิจการค้าชายแดนลุ่มแม่น้ำโขง

เกษตรฯ ติวเข้ม จนท.บริหารจัดการไม้ผลคุณภาพพร้อมศึกษาระบบโลจิสติกส์พื้นที่เศรษฐกิจภาคอีสานตอนบน
นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม

นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ พ.ศ. 2550 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ หรือ Fruit board ทำหน้าที่บริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ โดยมีรัฐมนตรีกว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่เป็นเลขานุการ ซึ่งการดำเนินงานของ Fruit board เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยมีผู้รับผิดชอบงานไม้ผลจากส่วนกลางร่วมกับส่วนภูมิภาคที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้เป็นฟันเฟืองการทำงานที่สำคัญ เนื่องจากผลไม้เป็นสินค้าในกลุ่มที่มีอายุการเก็บรักษาสั้นและเน่าเสียง่าย (perishable crop) จึงมีความอ่อนไหวสูงทั้งด้านการผลิตซึ่งมีสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดการเจริญเติบโต ด้านการตลาดซึ่งต้องแข่งขันกับเวลาในการเร่งกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต ดังนั้น ผู้รับผิดชอบงานไม้ผลต้องมีทักษะความรู้ทั้งด้านวิชาการและด้านบริหารจัดการเพื่อวางแผนบริหารจัดการผลไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะไม้ผลมีความแตกต่างจากกลุ่มสินค้าเกษตรชนิดอื่น ประการสำคัญคือต้องทำงานแข่งขันกับเวลาให้ผลงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ 1) มีการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (IT) เพื่อใช้ในการพยากรณ์ผลผลิตประจำปีให้เกิดความรวดเร็ว แม่นยำ เชื่อถือได้ มีเอกภาพเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนบริหารจัดการไม้ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาทั้งด้านราคาและการระบายผลผลิตให้กับเกษตรกรได้ในระยะยาว 2) สนับสนุนการทำงานของคณะอนุกรรมการย่อย 6 คณะที่อยู่ภายใต้ Fruit board ซึ่งกำกับดูแลแก้ไขปัญหาผลไม้ทั้งที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักและกลุ่มเศรษฐกิจรองให้ครอบคลุมตามแหล่งผลิตที่สำคัญทั้งระบบ

เกษตรฯ ติวเข้ม จนท.บริหารจัดการไม้ผลคุณภาพพร้อมศึกษาระบบโลจิสติกส์พื้นที่เศรษฐกิจภาคอีสานตอนบน ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงกำหนดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการไม้ผลครบวงจร ระหว่างวันที่ 18 – 20 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรม เดอะ พรรณราย โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้แก่ผู้รับผิดชอบงานไม้ผลรวมทั้งสิ้น จำนวน 110 คน ได้นำวิธีการทำงานจากต่างพื้นที่ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตนเองได้อย่างเหมาะสม การรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง “ศักยภาพและโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนลุ่มแม่น้ำโขง” ควบคู่กับศึกษาดูงานระบบ logistic และ supply chain จากแหล่งผลิตและแหล่งการกระจายสินค้าเกษตรในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสานตอนบน มีการเชื่อมโยงการค้าชายแดนผ่านเส้นทางคมนาคมทางบกตามระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตกสู่สาธารณรัฐประชาชนลาว แต่ยังคงไว้ในหลักการเรื่องการจัดสมดุลอุปสงค์ อุปทาน การใช้ข้อมูลประมาณการผลผลิต การตลาด เพื่อบริหารจัดการผลผลิตส่วนเกิน การมองหาช่องทางกระจายผลผลิต พร้อมกับการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าสินค้า และใช้กลไกการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ในการบริหารจัดการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ผล

เกษตรฯ ติวเข้ม จนท.บริหารจัดการไม้ผลคุณภาพพร้อมศึกษาระบบโลจิสติกส์พื้นที่เศรษฐกิจภาคอีสานตอนบน

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากไม้ผลเป็นพืชเศรษฐกิจใหญ่ที่มีมากกว่า 50 ชนิด พื้นที่การผลิตประมาณ 7.7 ล้านไร่ ผลผลิตปีละประมาณ 10.81 ล้านตัน เกษตรกรมีการรวมกลุ่มผู้ผลิตและจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งสิ้น 1,121 กลุ่ม มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นสถาบันเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลในจังหวัดแหล่งผลิตผลไม้สำคัญอีกประมาณ 854 แห่ง ปัจจุบันโลกมีความเจริญก้าวหน้ามาก จึงมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้ทันต่อเกษตรกรที่มีความสามารถในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์มาช่วยในการผลิตไม้ผลมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ การพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ซึ่งผู้รับผิดชอบงานไม้ผลต้องมีการวางแผนบริหารจัดการผลไม้ สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ให้ได้ ตลอดจนมองภาพการบริหารจัดการผลไม้ในองค์รวมอย่างชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยงในการทำงาน เพราะงานไม้ผลถือเป็นงานที่สำคัญมากงานหนึ่งของกรมส่งเสริมการเกษตร

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated