เรื่อง/ภาพ : ธนสิทธิ์ เกษตรก้าวไกล

เพราะ…ต้องมาดูแลพ่อกับแม่ มีอายุมาก..ที่อยู่กันเพียงสองคนตายาย

นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้  “อั๋น-จิราวัฒน์ ใจสำราญ” ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิด ที่ตำบลศาลาแดง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง โดยหนึ่งในสิ่งที่เขามุ่งหวัง คือ การเลี้ยงชีพด้วยอาชีพการเกษตร

“พอดีว่าที่บ้านมีที่ว่างอยู่ประมาณ 15 ไร่ จึงอยากทำตรงนี้ให้เป็นสวนเกษตร” อั๋น บอกสั้นๆ

แต่การเริ่มต้นในอาชีพนี้ สำหรับเขาแล้ว แม้จะมีความคุ้นเคย แต่ก็ยังขาดความชำนาญ ขาดแนวทางที่จะทำให้สามารถเดินให้ถูกต้อง

“ผมนั้นเรียนจบปริญญาตรีด้านภูมิสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แล้วไปจบโทด้านสิ่งแวดล้อมจากมหิดล จากนั้นก็ออกมาทำงานบริษัทเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอยู่พักใหญ่”

ผักกูด -วอลเตอร์เคส...ก้าวเริ่มต้นของ YSF อั๋น จิราวัฒน์ ที่อ่างทอง ผักกูดแจ้งเกิดที่อ่างทอง! ฝีมือ YSF ปริญญาโท ยอดอวบ ไม่พอขาย ขยายเพิ่มเร็วๆนี้เข้าเป็น YSF เพื่อการพัฒนาในอาชีพ

ดังนั้นเมื่อกลับบ้าน และเริ่มต้นใหม่ สิ่งแรกที่เขาได้ทำคือ การสมัครเข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer (YSF) ของกรมส่งเสริมการเกษตร เขาจึงเดินทางไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอ่างทอง เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

“แม้จะมีที่ดิน มีทุน แต่เราก็ต้องการองค์ความรู้และการสนับสนุนในด้านการเกษตร ดังนั้นหากอยากได้สิ่งที่ต้องการ ก็ต้องไปติดต่อ ผมจึงเดินทางไปยังสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอ่างทอง”

เมื่อไปติดต่อ ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอ่างทอง ตั้งแต่เกษตรอำเภอ “พี่น้อย-นิภาภรณ์ สนิทพันธุ์” จนถึงเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลที่ดูแลรับผิดชอบต่างให้ข้อแนะนำเป็นอย่างดี โดยเริ่มจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกรก่อน จากนั้นได้รับคำแนะนำให้เข้าร่วมโครงการ YSF และได้กลายเป็นสมาชิก YSF เขตอำเภอเมืองประจำปี 2562 เรียบร้อยแล้ว

ผักกูด -วอลเตอร์เคส...ก้าวเริ่มต้นของ YSF อั๋น จิราวัฒน์ ที่อ่างทอง ผักกูดแจ้งเกิดที่อ่างทอง! ฝีมือ YSF ปริญญาโท ยอดอวบ ไม่พอขาย ขยายเพิ่มเร็วๆนี้ตอบโจทย์ได้ ลุยปลูกเลย

สำหรับการเริ่มต้นอาชีพการเกษตรบนผืนดินบ้านเกิด YSF ผู้นี้บอกว่า ในการเลือกกิจกรรมเพื่อการสร้างรายได้นั้น ได้คำนึงถึงความชอบของตนเอง และความต้องการของตลาดในพื้นที่เป็นหลักก่อน

“แนวคิดของผมคือ พยายามมองหาว่า จะปลูกผักอะไรดีที่ปลูกง่าย ตายยาก อยู่ยาว และปลอดสารเคมี ซึ่งผักที่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ดี คือ หนึ่ง “ผักกูด” และเป็นผักที่ยังไม่มีการปลูกกันในเขตจังหวัดอ่างทอง และสอง “วอลเตอร์เคส” ซึ่งเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะธาตุเหล็ก แคลเซียม ที่สำคัญอีกประการ คือ ผักทั้ง 2 ชนิด นี้สามารถปลูกร่วมกันได้” อั๋น อธิบายถึงแนวคิดของการเลือกชนิดผัก

ผักทั้ง 2 ชนิดนี้ อั๋นบอกว่า สามารถนำไปปรุงอาหารได้อย่างหลากหลายไม่ว่า จะกินสด หรือนำไปผัด ต้ม แกง หรือทำเป็นสลัดผัก

ด้วยเป็นปีแรกของการลงมือในอาชีพการเกษตร ลงมือปลูกเพื่อสร้างตลาดและรายได้ เขาจึงเริ่มต้นในพื้นที่ว่างจำนวน 3 งาน ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 98 หมู่ 5 ตำบลศาลาแดง อำเภอเมืองอ่างทอง โทร. 08-5167-8538

โดยจากประสบการณ์กับการปลูกผักทั้ง 2 ชนิด เกษตรกรเจ้าของสวนบอกว่า อย่างผักกูดนั้น เป็นผักที่ปลูกง่ายตายยาก ลักษณะการเจริญเติบโตจะเน้นการแตกแขนงที่ปลายราก สามารถอยู่ได้ยาวหลายปี หลังจากเด็ดยอดแล้ว ต้นผักกูดสามารถแตกยอดใหม่ขึ้นมาโดยไม่ต้องปลูกซ้ำ

“เรียกว่าสามารถเก็บขายได้ตลอด เวลานี้ผมเก็บส่งตลาดในตัวเมืองอ่างทองก็ไม่พอ” อั๋นกล่าว

สำหรับสนนราคาจำหน่ายหน้าสวน อั๋นบอกว่า ผักกูดอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท ส่วนวอลเตอร์เคส ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท โดยเน้นขายส่งไปยังตลาดคนรักษ์สุขภาพที่กรุงเทพฯ

“ตอนนี้เลยมีเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ปลูกผักกูดเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า เพราะวันนี้คนได้หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้อัตราการเติบโตของตลาดเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงวางแผนที่จะขยายให้เพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่เหลือ ซึ่งในอีก 3 – 4 ปีผมคิดว่าจะมีรายได้เทียบเท่ากับตอนทำงานที่กรุงเทพฯ อย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ได้มากกว่าและไม่มีอะไรมาเทียบได้คือ ความสุขที่ได้อยู่บ้าน ได้อยู่ดูแลพ่อแม่ ”

ผักกูด -วอลเตอร์เคส...ก้าวเริ่มต้นของ YSF อั๋น จิราวัฒน์ ที่อ่างทอง ผักกูดแจ้งเกิดที่อ่างทอง! ฝีมือ YSF ปริญญาโท ยอดอวบ ไม่พอขาย ขยายเพิ่มเร็วๆนี้ปลูกง่าย ดูแลไม่มาก

“ในส่วนของผักกูดจะใช้ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1 ฟุต ระหว่างแถวประมาณ 2 ฟุต โดยต้องยกร่องปลูก เพื่อช่วยในเรื่องการระบายน้ำ อย่าให้มีน้ำท่วมขังในแปลงปลูก โดยการปลูกนั้นต้องมีการกางสแลนเพื่อช่วยพรางแสงแดด”

สำหรับต้นพันธุ์ผักกูด เจ้าของสวนบอกว่า สั่งสายพันธุ์ ตรงมาจากพัทลุงเลยทีเดียว

“การปลูกทำได้ง่ายๆ เพียงแต่ไปนำต้นแขนงที่แตกใหม่จากต้นเดิมมาถอนแล้วนำมาลงจุดที่ปลูก โดยขุดหลุมไม่ต้องลึก ปลูกแล้วกลบดินเบาๆ ปล่อยให้ต้นเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ใช้เวลาไม่นานก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจำหน่ายได้”

ผักกูด -วอลเตอร์เคส...ก้าวเริ่มต้นของ YSF อั๋น จิราวัฒน์ ที่อ่างทอง ผักกูดแจ้งเกิดที่อ่างทอง! ฝีมือ YSF ปริญญาโท ยอดอวบ ไม่พอขาย ขยายเพิ่มเร็วๆนี้ผักกูดหลังจากปลูกแล้วประมาณ 6 เดือน จะสามารถเริ่มเก็บยอดจำหน่ายได้ โดยหากมีการจัดการดูแลที่ดี จะได้ผักกูดที่ยอดอวบสมบูรณ์ น้ำหนักดี โดยที่เก็บขณะนี้ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะมีประมาณ 20 ยอด แต่ถ้าเป็นยอดเล็ก จะอยู่ที่ประมาณ 40 ยอด

“ในพื้นที่ 3 งาน เราจะเก็บสลับกันระหว่างผักกูดและวอลเตอร์เคส โดยอาทิตย์หนึ่ง ผักกูดจะเก็บ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งจะได้ผลผลิตประมาณ 10 กิโลกรัมต่ออาทิตย์ ซึ่งสำหรับผมถือว่าน่าพอใจมากสำหรับการเพิ่งเริ่มต้น” อั๋นกล่าว

“ดังนั้นจุดสำคัญคือ การต้องดูแลเรื่องการรักษาความชุ่มชื้นในโรงเรือน ถ้าเห็นว่า มีอากาศร้อนมาก จะเพิ่มความชื้นโดยจะเพิ่มการให้น้ำเป็นเช้าเย็น ซึ่งระบบน้ำที่สวนของเราจะใช้ระบบสเปรย์พ่น โดยวางท่อน้ำไว้ด้านบน เมื่อสร้างสภาพแวดล้อมทำให้มีความชื้นที่พอดีก็จะทำให้ต้นผักกูดอยู่กับเราได้นานมาก”

ในส่วนของปุ๋ยที่ใช้ใส่เพื่อบำรุงต้น อั๋นบอกว่า จะเน้นการใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก สูตรแม่โจ้ แบบไม่กลับกองเป็นหลัก ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีใดๆ ทั้งสิ้น

“ผมจะใส่ปุ๋ยประมาณ 2 อาทิตย์ครั้ง โดยโรยข้างโคนต้น โดยกอหนึ่งจะใส่ปุ๋ยคอกปู๋ยหมักประมาณ 1 กำมือ” อั๋นกล่าวผักกูด -วอลเตอร์เคส...ก้าวเริ่มต้นของ YSF อั๋น จิราวัฒน์ ที่อ่างทอง ผักกูดแจ้งเกิดที่อ่างทอง! ฝีมือ YSF ปริญญาโท ยอดอวบ ไม่พอขาย ขยายเพิ่มเร็วๆนี้

นี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างที่กำลังเริ่มต้นสร้างความมั่นคงให้ชีวิตและอาชีพ ภายใต้แนวทางของการเป็น YSF เกษตรกรคนรุ่นใหม่แห่งจังหวัดอ่างทอง อั๋น-จิราวัฒน์ ใจสำราญ..ที่กำลังจะขยายการผลิตผักกูดและวอลเตอร์เคส อีกหนึ่งโรงเรือนเร็วๆ นี้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated