ไทย-ลาว จับมือพัฒนายางพาราสู่ “บึงกาฬโมเดล” ต้นแบบแก้ไขปัญหายางครบวงจร
ไทย-ลาว จับมือพัฒนายางพาราสู่ “บึงกาฬโมเดล” ต้นแบบแก้ไขปัญหายางครบวงจร

ประธานเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ไทย-ลาว จังหวัดบึงกาฬ ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ จับมือเครือข่าย 23 องค์กร ลงนามความร่วมมือ(MOU) ด้านการพัฒนา-วิจัย สร้างนวัตกรรมด้านยางพารา ก้าวไปสู่ “บึงกาฬโมเดล” ต้นแบบการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร นับเป็นการบูรณาการความร่วมมือกิจการร่วมค้าเป็นการร่วมทุนแห่งแรกและครั้งแรกของประเทศไทย สร้างแบรนด์สินค้าร่วมกัน ผลักดันเกิดศูนย์การพัฒนานวัตกรรมยางแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ประธานในพิธี
นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ประธานในพิธี
พิธีลงนาม(MOU) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนา การวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านยางพารา
พิธีลงนาม(MOU) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนา การวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านยางพารา

พิธีลงนาม(MOU) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนา การวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านยางพารา ครั้งนี้ โดย วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ กับ 23 องค์กรทั้งภาคการศึกษา, ภาครัฐ-เอกชน ตลอดจนเครือข่ายภาคเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ณ ห้องประชุมวิทยาลัย เทคนิคบึงกาฬ โดยมี นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) และ นายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ปรึกษา สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) พร้อมทั้ง นายถวิล สุวรรณมณี นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน  ไทย-ลาว จับมือพัฒนายางพาราสู่ “บึงกาฬโมเดล”

ทั้งนี้ ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหายางพารา และเพื่อยกระดับราคายางในพื้นที่ ทั้งในด้านการพัฒนาผลิต และการแปรรูปยางอย่างครบวงจร ผ่านกลไกในการวิจัย การทดสอบ และการสร้างมาตรฐาน รวมทั้งสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับมูลค่ายางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศ อย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดเป็นศูนย์การพัฒนานวัตกรรมยางแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการให้บริการเรื่องยางแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) ซึ่งจะมีการจัดประชุมวิชาการ การจัดฝึกอบรม และมีการสร้างเครือข่ายยางนำไปสู่การทำวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ของทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สามารถช่วยสร้างอาชีพมีรายได้ที่ดีให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศไทย สอดรับกับนโยบาย Thailand 4.0 โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถประกอบอาชีพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราได้ เกิดความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนไทย-ลาว จับมือพัฒนายางพาราสู่ “บึงกาฬโมเดล”

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ ได้กำหนดกรอบความร่วมมือเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอื่นใดของผลงาน สิ่งประดิษฐ์ ระบบฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ข้อมูลการรายงานการศึกษาวิเคราะห์ คู่มือ เอกสาร หรือสิ่งอื่นใดที่มีอยู่เดิมของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และได้นำมาใช้ในการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ย่อมเป็นของฝ่ายนั้น หากอีกฝ่ายประสงค์จะใช้สิทธิในผลงานเดิมของอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ประสงค์จะใช้สิทธิในผลงานเดิมนั้นจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากฝ่ายที่เป็นเจ้าของผลงานเดิมนั้นก่อน สำหรับสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอื่นใดที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการดำเนินงานภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ให้ทุกฝ่ายร่วมกันพิจารณาและกำหนดสิทธิหน้าที่ในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นรายกรณีไป ในแต่ละข้อตกลงหรือสัญญาที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคต  กรณีมีการยกเลิกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สามารถกระทำได้โดยฝ่ายที่ประสงค์จะยกเลิกให้บอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยให้ถือว่าข้อตกลมเป็นอันสิ้นผลในวันที่ระบุไว้ในหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าดังกล่าว แต่ในแต่ละฝ่ายยังคงมีสิทธิหน้าที่ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน สำหรับการดำเนินการใดๆที่ได้กระทำลงไปในระหว่างที่บันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีผลบังคับใช้อยู่และการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยได้รับความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรจากทุกฝ่าย

นายภคพล บุตรสิงห์ (คนซ้าย) ส่วนคนขวาคือ นายอำนวย  ปะติเส อดีตรมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ปรึกษา  (สยยท.)
นายภคพล บุตรสิงห์ (คนซ้าย) ส่วนคนขวาคือ นายอำนวย ปะติเส อดีตรมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ปรึกษา (สยยท.)

นายภคพล บุตรสิงห์ ประธานเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ไทย-ลาวจังหวัดบึงกาฬสาขา สยยท.แห่งประเทศไทย กล่าวเปิดเผยถึงความร่วมมือครั้งนี้ ในฐานะผู้นำในการรวมรวมเกษตรกรและเครือข่ายสมาคมการค้ายางจ.บึงกาฬ สันนิบาตรสหกรณ์ สภาเกษตรกร และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรในความร่วมมือครั้งนี้ว่า นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือกิจการร่วมค้าของสหกรณ์การเกษตรเครือข่ายสภาเกษตรกรจังหวัดบึงกาฬ กับบริษัท อาร์ ที แอล เวิร์ดเทรด จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนแห่งแรกและครั้งแรกของประเทศไทยที่จะสร้างแบรนด์สินค้าร่วมกันทั้งภายในและต่างประเทศใน CLMVT ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนม่าร์ เวียดนาม และประเทศไทย ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานจากหลายภาคส่วนมาจับมือร่วมกัน คาดว่าจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการแก้ไขยางพาราทั้งระบบทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเริ่มจากในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกยางมากที่สุดของประเทศ ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้เป็นการสร้างต้นแบบที่เรียกว่า “บึงกาฬโมเดล” นับเป็น พร้อมขยายผลความสำเร็จไปในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเฉียงและของประเทศไทย และขยายไปในเขตอาเซี่ยน และทั่วโลกต่อไป ซึ่งหากภาครัฐให้การสนับสนุนประสบความสำเร็จนี้จะได้นำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคอื่น ๆ ของประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหายางพาราได้อย่างยั่งยืน

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ (เสื้อในสีเหลือง) ประธานสภาเครือข่ายยางฯ ขณะลงนาม (MOU)
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ (เสื้อในสีเหลือง) ประธานสภาเครือข่ายยางฯ ขณะลงนาม (MOU)

ทางด้าน นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การ MOU ครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะเกิดประโยชน์อย่างแน่นอน ล่าสุดที่ผ่านมาได้ทำ บันทึกความร่วมมือ( MOU)กับประเทศเมียนม่าร์แล้ว ซึ่งรัฐบาลควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและเป็นวาระเร่งด่วน เพราะหากประสบความสำเร็จแล้วจะได้นำรูปแบบดังกล่าวไปพัฒนาปรับใช้ในพื้นที่หรือจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการปลูกยางก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะยาวได้ นอกจากนี้ขอฝากให้รัฐบาลหรือพรรคการเมืองผู้ที่จะมารับผิดชอบดูแลด้านยางพารา ขอให้คัดสรรคนทำงานที่เป็นเก่ง คนดี คนที่มีความรู้ความสามารถมาแก้ปัญหายางพาราจริง ๆ เนื่องจากในอดีต จนถึงวันนี้เกิดปัญหาเรื้อรังสั่งสมมานานท้ายคนรับกรรมคือเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งหากแก้ควรแก้ไขตั้งแต่คนที่จะมานั่งเก้าอี้บริหารองค์กรยาง รวมทั้งควรแก้ระบบ ระเบียบ/กฎเกณฑ์ การทำงาน และงบประมาณที่ไม้เอื้ออำนวยต่อการบริหารงาน รวมทั้งควรรับฟังความคิดเห็นจากคนในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้เครือข่ายเกษตรกรเข้ามามีบทบาทในการมาร่วมแก้ไขเพิ่มมากขึ้น.นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ (เสื้อในสีเหลือง) ประธานสภาเครือข่ายยางฯ ขณะลงนาม (MOU) ไทย-ลาว จับมือพัฒนายางพาราสู่ “บึงกาฬโมเดล”

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated