เผยวิธีดูแลลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือในช่วงฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง ให้ได้คุณภาพ
เผยวิธีดูแลลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือในช่วงฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง ให้ได้คุณภาพ

กรมส่งเสริมการเกษตร เผยปี 2562 ประเทศไทยเกิดภาวะฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลอุณหภูมิสูงกว่าปกติและปริมาณน้ำฝนน้อย พร้อมแนะเกษตรกรเตรียมรับมือดูแลผลผลิตลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือให้ได้คุณภาพ

เกษตรฯ เผยแนวทางการดูแลลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือในช่วงฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง
นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ นำทีมลงพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อดูแลผลผลิตลำไยที่จะออกสู่ตลาดให้ได้คุณภาพ

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ผลผลิตผลไม้ภาคเหนือปีการผลิต 2562 ได้แก่ ลิ้นจี่และลำไย พบว่า ปริมาณผลผลิตลิ้นจี่จะมีจำนวน 26,278 ตัน โดยจะออกมาก (Peak) ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และปริมาณผลผลิตลำไยมีจำนวน 624,321 ตัน จำแนกเป็นลำไยในฤดู 341,028 ตัน และลำไยนอกฤดู 283,293 ตัน โดยลำไยในฤดูจะออกมาก (Peak) ช่วงกลางเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ จากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่าประเทศไทยจะเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ (El Nino) ส่งผลให้มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติและมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าปกติร้อยละ 10 – 20 ซึ่งอาจทำให้ส่งผลกระทบกับลิ้นจี่และลำไยของภาคเหนือได้

เกษตรฯ เผยแนวทางการดูแลลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือในช่วงฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง
นายสำราญ สาราบรรณ์

ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่และลำไยให้สอดคล้องตามข้อมูลประมาณการผลผลิตและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ กรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัด 8 จังหวัดภาคเหนือออกให้คำแนะนำพร้อมแจ้งแนวทางการปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่และลำไยในช่วงสภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วงโดยเร่งด่วน ดังนี้ การผลิตลิ้นจี่ เน้นส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่ “พัฒนาลิ้นจี่คุณภาพ” โดยใช้เทคโนโลยีการห่อช่อผลในช่วงผลเริ่มติดสี หรือก่อนเก็บเกี่ยว 45 วัน เพื่อลดเปอร์เซ็นต์การเข้าทำลายของหนอนเจาะขั้วผล รวมทั้งควรเก็บผลผลิตในระยะผลแก่ (หลังดอกบานประมาณ 4 เดือน) เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งปีนี้ลิ้นจี่มีปริมาณผลผลิตลดลงจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศและอุณหภูมิไม่เอื้ออำนวยต่อการติดดอกออกผล รวมทั้งเนื้อที่ให้ผลลดลงสาเหตุจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นแทน ฉะนั้น คาดว่าลิ้นจี่จะไม่มีปัญหาด้านราคา

เกษตรฯ เผยแนวทางการดูแลลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือในช่วงฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง
ลิ่นจี่

เกษตรฯ เผยแนวทางการดูแลลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือในช่วงฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง

สำหรับ การผลิตลำไย จะส่งผลกระทบทำให้การตอบสนองของต้นลำไยลดลง ลำไยจะมีการพัฒนาของดอกและผลเปลี่ยนแปลง ทำให้ออกดอกหลายรุ่น และติดผลจำนวนมาก ซึ่งเมื่อฝนตกปริมาณน้อยและล่าช้ากว่าปกติลำไยได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอจะทำให้การพัฒนาของผลไม่เต็มที่ ผลมีขนาดเล็ก เปลือกบาง ผลแตก และเสียหายได้ แนวทางเน้นการส่งเสริม “ผลิตลำไยคุณภาพ” รวมทั้งให้เกษตรกรตระหนักและเตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดย 1. แจ้งเตือนและให้คำแนะนำเกษตรกรปรับตัว เพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตและปฏิบัติดูแลจัดการสวนลำไยอย่างถูกต้องและเหมาะสมในช่วงสภาพอากาศแห้งแล้งและฝนทิ้งช่วงที่อาจจะเกิดขึ้น 2. ประเมินสถานการณ์การติดผล และตัดแต่งช่อผล เพื่อเพิ่มขนาดผลลำไย (เพิ่มสัดส่วนเกรด) ขนาดผลให้มีความสม่ำเสมอ และอายุการเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น หลักการตัดแต่งช่อผลที่สำคัญ ได้แก่ ต้นที่ควรตัดแต่งช่อผล คือ ต้นลำไยที่ติดดก ติดทั้งต้นหรือแต่ลำช่อมีจำนวนผลมากกว่า 60 ผลต่อช่อ ระยะเวลาที่เหมาะสมควรตัดแต่งช่อผลในช่วงที่ผลมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเหลือง หรือไม่เกินขนาดมะเขือพวง โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร วิธีการตัดแต่งช่อผลทำได้ 2 รูปแบบ คือ 1) เลือกตัดแต่งทุกช่อ โดยตัดปลายช่อลำไยทิ้งร้อยละ 50 ของช่อผล หรือเหลือผลไว้ประมาณ 60 ผลต่อช่อ 2) เลือกตัดทิ้งทั้งช่อ โดยเลือกตัดช่อที่ไม่สมบูรณ์หรือมีมากทิ้ง ทั้งนี้ สามารถใช้วิธีการตัดแต่งช่อผลแบบผสมผสานได้ทั้ง 2 รูปแบบ 3. ใช้วัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้นลำไย เพื่อป้องกันหรือการระเหยของน้ำจากผิวดินในช่วงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง รวมทั้งช่วยทำให้อุณหภูมิในดินไม่สูงหรือต่ำเกินไปในช่วงกลางวันและกลางคืน ตลอดจนเป็นการควบคุมวัชพืชต่าง ๆ ไม่ให้งอก และเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดิน ซึ่งวิธีการให้ใช้วัสดุคลุมโคนต้น เช่น ฟางข้าว เศษหญ้าแห้ง หรือใบไม้แห้ง โดยคลุมให้หนาประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร จากโคนต้นไปยังชายทรงพุ่ม ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่

เกษตรฯ เผยแนวทางการดูแลลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือในช่วงฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง
ลำไย

เกษตรฯ เผยแนวทางการดูแลลิ้นจี่และลำไยภาคเหนือในช่วงฝนแล้ง/ฝนทิ้งช่วง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated