ลงพื้นที่แหล่งผลิตหอมหัวใหญ่ จ.เชียงใหม่ ปีนี้คุณภาพดี พร้อมลุยตลาดส่งออกญี่ปุ่น
ลงพื้นที่แหล่งผลิตหอมหัวใหญ่ จ.เชียงใหม่ ปีนี้คุณภาพดี พร้อมลุยตลาดส่งออกญี่ปุ่น

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์หอมหัวใหญ่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกหอมหัวใหญ่อันดับหนึ่ง และแหล่งส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย โดยลงพื้นที่ในอำเภอแม่วาง และอำเภอสันป่าตอง พร้อมประชุมหารือกับภาคส่วนต่างๆ อาทิ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่แม่วาง จำกัด ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่บ้านกาดพัฒนา จำกัด และผู้ประกอบการส่งออกหอมหัวใหญ่ เพื่อติดตามสถานการณ์ และแนวทางบริหารจัดการสินค้าหอมหัวใหญ่ที่จะออกตลาดในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม 2562

ลงพื้นที่แหล่งผลิตหอมหัวใหญ่ จ.เชียงใหม่ ปีนี้คุณภาพดี พร้อมลุยตลาดส่งออกญี่ปุ่นสำหรับข้อมูลสถานการณ์การผลิตหอมหัวใหญ่ ปี 2562 (ปีเพาะปลูก 2561/62) ข้อมูลพยากรณ์ ณ 7 มกราคม 2562  พบว่า จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย มีเนื้อที่เพาะปลูกรวม 9,233 ไร่ ลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว 70 ไร่ (ร้อยละ 0.75) เนื่องจากมีฝนตกช่วงต้นฤดูทำให้กล้าพันธุ์ได้รับความเสียหายปลูกได้ไม่เต็มพื้นที่ ผลผลิต 32,261 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 25 ตัน (ร้อยละ 0.08)  ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 3,502 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 30 กิโลกรัม (ร้อยละ 0.86) เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ไม่มีโรคและแมลงรบกวน

ขณะนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งหมด (ประมาณ 9,678 ตัน)  และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ส่วนราคาของผลผลิตช่วงต้นฤดูกาล (ปลายเดือนธันวาคม 2561 ถึง กลางเดือนมกราคม 2562 ) เกรดคละเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 10 บาท/กิโลกรัม ราคาใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ลงพื้นที่แหล่งผลิตหอมหัวใหญ่ จ.เชียงใหม่ ปีนี้คุณภาพดี พร้อมลุยตลาดส่งออกญี่ปุ่น

ทั้งนี้ พบว่า หอมหัวใหญ่ในปีนี้มีคุณภาพดีกว่าปีที่แล้ว และเป็นพันธุ์ Super Rex ทั้งหมดตรงกับตามความต้องการของตลาดส่งออก คือ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักของไทย  โดยราคาหอมหัวใหญ่เกรดส่งออกคละ จะสูงกว่า 15 บาท/กก. อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ได้จัดเตรียมแนวทางในการบริหารจัดการหอมหัวใหญ่ที่จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินค้าดังกล่าวมีความผันผวน โดยได้สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้แก่สหกรณ์ เพื่อชะลอการจำหน่ายผลผลิตโดยแขวนผลผลิตและเก็บผลผลิตเข้าห้องเย็นบางส่วนในช่วงที่ผลผลิตออกกระจุกตัวมาก และการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตผ่านเครือข่ายสหกรณ์  และจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้า (Traceability)  ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561 และจะขยายผลต่อให้เป็นรูปธรรมต่อไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated