ในงานมอบรางวัล ”ยิ่งขาย ยิ่งรวย ด้วยแปซิฟิค” และงานวันสาธิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ สถานีวิจัยและพัฒนา บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 ได้จัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ มีตัวแทนร้านค้าที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดมาร่วมงานกันอย่างคึกคัก

โดยในงานครั้งนี้ นอกจากจะมีผู้บริหารของบริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ที่นำโดยคุณพาโชค พงษ์พานิช มาให้การต้อนรับกันครบทีมแล้ว ยังมีคุณเขาทราย แกแล็คซี่ พรีเซ็นเตอร์เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดแปซิฟิคมาสร้างสีสัน https://www.youtube.com/watch?v=B4-KBZF0E1k&feature=youtu.be ตลอดจนสื่อมวลชนจากหลายสำนักมารายงานข่าวอีกด้วย

คุณพาโชค พงษ์พานิช นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมผลผลิตข้าวโพดสายพันธุ์ต่างๆ
คุณพาโชค พงษ์พานิช นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมผลผลิตข้าวโพดสายพันธุ์ต่างๆ

คุณพาโชค พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 43 ปี มีการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับการปลูกในไทย ทั้งเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานที่พัฒนาไม่หยุดนิ่ง และโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่จำหน่ายเป็นการค้าและได้รับความนิยมหลากหลายพันธุ์ในปัจจุบันเป็นต้นว่า แปซิฟิค 339 แปซิฟิค 999ซุปเปอร์ แปซิฟิค 777 แปซิฟิค 139 ฯลฯ และเพื่อให้ผู้แทนจำหน่ายและพี่น้องเกษตรกรได้ทราบความก้าวหน้าในการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่และมีความมั่นใจในคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของบริษัทฯ จึงได้จัดงานสาธิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ที่จะจำหน่ายในปีนี้ โดยมีพันธุ์แนะนำ เช่น แปซิฟิค 779 ให้ผลผลิตสูง ไม่หักล้มง่าย ระบบรากและลำต้นแข็งแรง เปลือกหุ้มสุดถึงหลายฝัก (เหมาะปลูกในพื้นที่สูงและมีฝนชุก ทนทานการหักล้มและฝักเป็นเชื้อราได้ดี) พอสมควร และพันธุ์ 789 ฝักใหญ่ ทรงกระบอก ผลผลิตสูง ระบบรากและลำต้นแข็งแรง (ให้ผลผลิตสูงมาก ฝักใหญ่ เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ราบลุ่มทั่วไป รวมทั้งการปลูกหลังทำนา) ตอบสนองกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ เพิ่มศักยภาพการผลิตและให้เกษตรกรได้มีรายได้ที่ดีขึ้น

ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชนแปลงปลูกปลูกเข้าโพดของแปซิฟิคอย่างคึกคัก
ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมแปลงปลูกข้าวโพดของแปซิฟิคอย่างคึกคัก

คุณพาโชค ยังได้กล่าวอีกว่า การจัดงานวันสาธิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นเหมือนการโชว์วิธีบริหารจัดการปลูกข้าวโพดให้ได้คุณภาพและหากจัดการดีผลผลิตที่ได้ก็จะสูงตามมา โดยการปลูกในแปลงวิจัยสามารถให้ผลผลิตสูงประมาณ 2 ตันต่อไร่ ในขณะที่การปลูกข้าวโพดในแปลงปลูกของเกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 670 กิโลกรัมต่อไร่ เหตุผลที่มีความแตกต่างกันมาก เพราะว่าในสถานีวิจัยมีการจัดการที่ดีทุกอย่าง เพราะฉะนั้นยังมีช่องว่างที่ท้าทาย…

“เกษตรกรสามารถเข้าถึงพันธุ์ดีที่จะเพิ่มผลผลิตได้ แต่เนื่องจากว่ายังมีตัวแปรอื่นๆอย่างที่ผมเคยเรียนว่าพันธุ์ข้าวข้าวโพดจะมีส่วนช่วยในผลผลิตประมาณ 50% อีก 50% เป็นเรื่องของการจัดการ เช่น การปลูกให้ได้จำนวนต้นต่อไร่ที่เหมาะสม การควบคุมวัชพืช ปริมาณน้ำฝน การระบาดของโรคและแมลง ถ้าสภาพต่างๆอยู่ในสภาพปกติแล้วก็เชื่อว่าเกษตรกรสามารถยกระดับผลผลิตให้ได้มากกว่า 670 กิโลกรัมต่อไร่ได้อย่างแน่นอน”

แปลงปลูกข้าวโพดในแปลงวิจัย...ฝักสวยงาม
แปลงปลูกข้าวโพดในแปลงวิจัย…ที่มีระบบริหารจัดการที่ดี

อีกเรื่องหนึ่งที่คุณพาโชค ได้ให้ข้อมูล คือเวลานี้ต่างประเทศยอมรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดจากประเทศไทย โดยเฉพาะจากการวิจัยและพัฒนาของแปซิฟิคมากขึ้นตามลำดับ

“เวลานี้เราได้รับการยอมรับใน 18 ประเทศทั่วโลก ทั้งอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา เรียกว่าทั้งในเอเชียใต้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดของเราเกือบทุกประเทศ ในอาเซียนก็เกือบทุกประเทศ เวียดนาม ลาว พม่า อินโดนีเซีย กัมพูชา ยกเว้นฟิลิปปินส์ ที่เป็นข้าวโพดจีเอ็มโอ และที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ของเราไปใช้ได้ดีที่ประเทศในแถบอเมริกาใต้ เช่น เปรู ปารากวัย เอกวาดอร์ โบลิเวีย ฯลฯ”

ข้าวโพดสายพันธุ์ต่างๆที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์และนำมาโชว์ในวันนี้
ข้าวโพดสายพันธุ์ต่างๆที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์และนำมาโชว์ในวันนี้

สำหรับตลาดข้าวโพดในประเทศไทย แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาราคาไม่ค่อยดีนัก แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาที่จะทำให้บริษัทฯต้องทุ่มทุนวิจัยและพัฒนา กลับกันต้องมีความพยายามที่จะสร้างความยั่งยืนให้เกษตรกร ทำให้มีรายได้ที่ดีขึ้น ทำให้พืชข้าวโพดเป็นที่ยอมรับ เกษตรกรปลูกแล้วทำกำไรทุกครั้ง นั่นคือภารกิจที่บริษัทฯต้องจัดหาเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง…

คุณพาโชค กับคุณเขาทราย โชว์ข้าวโพดสายพันธุ์ใหม่ที่จะเปิดตัวในปีนี้
คุณพาโชค กับคุณเขาทราย โชว์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ใหม่

สุดท้ายคุณพาโชค ได้ฝากข้อคิดต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่เป็นเสมือนบุคคลครอบครัวเดียวกันว่า “เราต้องมีความเข้าใจว่าการได้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงที่สุดตามศักยภาพของพันธุ์ เราต้องปรับปรุงพัฒนาใส่ปัจจัยทางการผลิตให้เพียงพอ เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การปลูกกระยะที่เหมาะสม จำนวนต้นที่เหมาะสมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยทั้งปุ๋ยรองพื้นและปุ๋ยยูเรีย การกำจัดวัชพืชให้ได้ประสิทธิภาพ…เราต้องลงทุนในระดับหนึ่งที่เหมาะสม การปลูกข้าวโพดจึงจะได้ผลผลิตที่ดี”

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated