เรื่อง/ภาพ: สิริพร เกษตรก้าวไกล

ดร.คมน์  ศิลปาจารย์  เลขาธิการศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีฟเดค)
ดร.คมน์ ศิลปาจารย์ เลขาธิการศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีฟเดค)

ดร.คมน์  ศิลปาจารย์  เลขาธิการศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีฟเดค) Southeast Asian Fisheries Development Center( SEAFDEC) เปิดเผยว่า  ซีฟเดคเป็นองค์กรความร่วมมือเพื่อพัฒนาการประมงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เตรียมจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบการก่อตั้ง 50 ปี ขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพ ซึ่งมีรัฐมนตรีและผู้แทนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการประมงจากประเทศสมาชิกทั้ง 11 ประเทศ

ซีฟเดด ก่อตั้งเมื่อ ปี 2510 มีสมาชิก ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเชีย ญี่ปุ่น  สปป.ลาว มาเลเชีย สหภาพเมียนม่าร์ ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย และเวียดนาม โดยมีโครงสร้างประกอบด้วยสำนักเลขาธิการ และสำนักงานฝ่ายวิชาการ 5 แห่ง มีการดำเนินงานคลอบคลุม ได้แก่ การพัฒนาการทำประมงทะเล การแปรรูปและการปรับปรุงคุณภาพสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการประมงทะเล แล ะการประมงน้ำจืด ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรประมงของภูมิภาคฯ

สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม มีหน้าที่หลักทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือการทำประมง ทะเลอย่างรับผิดชอบ ตั้งอยู่ในประเทศไทยที่ต.แหลมฟ้าผ่า จ. สมุทรปราการ  โดยการสนับสนุนเงินงบประมาณจากรัฐบาลไทยผ่านกรมประมง และเมื่อเร็ว ๆนี้ได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปที่สำนักฝ่ายฝึกอบรม เพื่อเยี่ยมชมกิจกรรม โครงการบันไดปลาโจน ปลาไหลสองน้ำ การปรับปรุงเรือประมงให้ได้มาตรฐานสากล(เรือปลาลัง)

แบบจำลองโครงการบันไดปลาโจน
แบบจำลองโครงการบันไดปลาโจน

โครงการบันไดปลาโจน เกิดจากพฤติกรรมการวางไข่ของปลาหรือสัตว์น้ำตามธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือกีดขวางลำน้ำธรรมชาติ จากการทดลองพบ ที่ระดับความชัน 11 องศา ปลาสามารถผ่าแบบช่องเปิดแนวตั้ง ได้แก่ ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง ปลาสร้อยขาว ปลาแก้มช้ำ และปลาโพง โดยปลาชนิดดังกล่าว สามารถผ่านได้ทั้งวันในเวลากลางวัน และกลางคืนโดยจะมีอัตราความสำเร็จ 100 %

ดร.คมน์  กล่าวว่า ส่วนปลาไหลสองน้ำ(Catadromous eels)นั้น อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล เมื่อตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ในน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ และถึงวัยเจริญพันธุ์ จะอพยพไปยังทะเลลึกเพื่อสืบพันธุ์และวางไข่ และปัจจุบันจับลูกพันธุ์จากธรรมชาติ (เริ่มตั้งแต่ระยะ glass eel) โดยใช้เครื่องมือจำพวกโพงพาง (fyke net)และสวิง โดยจะใช้แรงงานคนเป็นหลัก เพื่อที่จะเข้าสู่ระบบการอนุบาลในบ่อจนได้ขนาดและน้ำหนักที่ต้องการ ส่วนปลาไหลขนาดโตเต็มวัย จะใช้ลอบเพื่อดักจับจากบริเวณปากแม่น้ำหรือในแม่น้ำ

ขณะนี้นับว่าเป็นปลาเศรษฐกิจที่ราคาแพง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้วิจัยถึงการขยายพันธุ์ปลาไหล แต่พบปัญหาเจอ ทำได้แค่เพียงหาลูกปลาไหลเท่านั้นที่จะมาเลี้ยงต่อ และอาหารที่ให้พบว่าเป็นลูกปลาฉลามเท่านั้น แต่ก็ยังเป็นข้อมูลที่ยังได้ไม่มากเท่าที่ควร ถือว่ายังเป็นข้อมูลที่ต้องค้นคว้าวิจัยต่อไป”

โมเดลเรือปลาลัง เป็นเรือตัวอย่างลำแรก
โมเดลเรือปลาลัง เป็นเรือตัวอย่างลำแรก

โครงการเรือปลาลังนั้นจากการศึกษาพบว่า การทำประมงบนเรือจริงๆมักจะประสบปัญหา แรงงานแออัด สุขอนามัยที่ไม่สะอาด ทาง ซีฟเดคได้ร่วมบริษัทเอกชน ดัดแปลงเรือปลาลัง ออกแบบมาเป็นเรือต้นแบบให้กับชาวประมง  เพื่อให้มีมาตรฐานสวัสดิภาพความปลอดภัยต่อการทำงานบนเรือ และเพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาปรับปรุงเรือประมงไทยให้เป็นยอมรับในระดับนาๆชาติด้วย

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ เลขาธิการศูนย์พัฒนาการประมงแห่งชาติตะวันออกเฉียงใต้

ดร.คมน์ ศิลปาจารย์  โทร 097-006-2121 หรือ www.seafdec.or.th

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated