วันที่ 26 ตุลาคม 2560 เป็นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเพียงวันเดียว ส่วนการกำหนดวันพระราชพิธีนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมจนถึง 29 ตุลาคม 2560

ในวันเวลาดังกล่าว ได้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อให้พสกนิกรมีส่วนรวม หนึ่งในนั้นก็คือ การปลูกดอกดาวเรือง หรือดอกไม้สีเหลือง ดังที่นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เชิญชวนผ่านการประชุมระบบวีดิทัศน์ทางไกล ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และส่วนงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั่วประเทศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม2560 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อใช้ประดับสถานที่ราชการ สถานที่สำคัญของจังหวัด บริษัท ห้างร้าน และบ้านเรือนประชาชนในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม 2560 โดยให้ดอกบานสะพรั่งตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2560 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

คุณวโรชา จันทรโชติ
คุณวโรชา จันทโชติ เจ้าของสวนวโรชา อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ผู้ที่คลุกคลีกับวงการดอกดาวเรือง

สำหรับการปลูกดอกดาวเรืองเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกไม่ยาก มีอายุประมาณ 2-4 เดือน มีการปลูก 2 ประเภท คือปลูกเป็นไม้ประดับกับปลูกเพื่อตัดดอก เป็นดอกแบบรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอกดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว

ดอกดาวเรือง
ดอกดาวเรือง แห่งสวนวโรชา อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

ปัจจุบันดอกดาวเรืองมีการปรับปรุงพันธุ์ ที่ทำให้ดอกใหญ่สวยงาม มีทั้งปรับปรุงสายพันธุ์ทั้งในบ้านเรา และมาจากต่างประเทศที่นิยมกันโดยเฉพาะที่มาจากสหรัฐอเมริกา อย่างพันธุ์เกรดเอ นำเข้าจากสหรัฐอเมริกานั้น กรวยดอกสวยทน เป็นที่ต้องการของตลาด ใช้เวลาปลูก 65-70 วัน จากวันเพาะเม็ด จนออกดอก และสามารถตัดดอกได้ถึง 2 เดือนทีเดียว

คุณวโรชา จันทรโชติ
คุณวโรชา จันทโชติ เจ้าของสวนวโรชา

การปลูกดอกดาวเรืองถือว่าปลูกไม่ยาก หากใครที่ยังคิดไม่ออกว่า จะปลูกอย่างไรให้สวยงาม จะหาเมล็ดพันธุ์ที่ดีได้อย่างไร ที่จะให้ดอกสวย ทางคุณวโรชา จันทโชติ แห่งสวนวโรชา อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ผู้ที่คลุกคลีกับวงการดอกเรือง และมะนาว ฝากบอกว่า สามารถปรึกษาได้โทร.086-765-6845 และ 088-118-8234…ไม่แน่ว่าในการปลูกครั้งนี้อาจจะต่อยอดเป็นอาชีพได้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated