โคเนื้อแม่พันธุ์ สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุศัตว์
เปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวมาทำปศุสัตว์ (โคเนื้อ)

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2560 ว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแนวทางดำเนินงานโครงการโคบาลบูรพา และอนุมัติงบกลาง จำนวน 1,028.40 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ เพื่อให้กรมปศุสัตว์เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว

โคเนื้อพ่อพันธุ์
โคเนื้อพ่อพันธุ์

สาระสำคัญของเรื่อง เนื่องจากสถานการณ์โคเนื้อมีปริมาณลดลง ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชากรในประเทศ นักท่องเที่ยวต่างประเทศ และความต้องการของตลาดต่างประเทศ สาเหตุเกิดจากเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อต้นน้ำมีจำนวนลดลง เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนต่อฟาร์มสูง และระยะเวลาคืนทุนใช้เวลานาน จึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้ทันกับความต้องการ

โคเนื้อแม่พันธุ์
โคเนื้อแม่พันธุ์

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์จัดทำโครงการ “โคบาลบูรพา” โดยบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนตามแนวทางประชารัฐ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้งปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงปศุสัตว์

โดยดำเนินการในลักษณะของธนาคารสินค้าเกษตรและส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ทั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปศุสัตว์ โดยจะนำร่องที่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งจะประกาศให้เป็นเมืองแห่งปศุสัตว์ “โคบาลบูรพา” เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งและลักษณะพื้นที่เหมาะสม เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชาและเวียดนาม มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้ออย่างครบวงจร ซึ่งจะสามารถเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออก และสร้างโอกาสในการผลิตเนื้อโคส่งออกตลาดอาเซียนในอนาคต

โครงการโคบาลบูรพา มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง และส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ยึดคืนตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 36/2559 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 รวมทั้งเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมไปเลี้ยงปศุสัตว์ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ตลอดจนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อครบวงจรในพื้นที่ภาคตะวันออก

กรมปศุสัตว์จัดทำโครงการ "โคบาลบูรพา" โดยบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนตามแนวทางประชารัฐ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้งปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงปศุสัตว์
กรมปศุสัตว์จัดทำโครงการ “โคบาลบูรพา” โดยบูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนตามแนวทางประชารัฐ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้งปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงปศุสัตว์

พื้นที่เป้าหมาย

  1. พื้นที่ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จังหวัดสระแก้ว ปี 2559/60 ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ อำเภอโคกสูง และอำเภอวัฒนานคร เนื้อที่ 100,477 ไร่ เกษตรกร 6,106 ราย
  1. พื้นที่ ส.ป.ก. ที่ยึดคืนตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จังหวัดสระแก้ว ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ อำเภอโคกสูง และอำเภอวัฒนานคร จำนวน 9 แปลง เนื้อที่ 3,346 ไร่ เกษตรกร 271 ราย
การเลี้ยงโคเนื้อบนพื้นที่ปลูกข้าว
การเลี้ยงโคเนื้อบนพื้นที่ปลูกข้าว

การดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 5 กิจกรรม ดังนี้

1) ส่งเสริมการเลี้ยงแม่โคเนื้อผลิตลูก

2) ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงแพะ

3) ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ และ

4) การจัดตั้งโรงฆ่าสัตว์มาตรฐาน GMP ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ปี (พ.ศ. 2560-2565)

สำหรับรายละเอียดกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ทางกรมปศุสัตว์ที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการจะนำมาแจ้งให้เกษตรรับทราบต่อไป

(ขอบคุณภาพ : อินเตอร์เน็ต)

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated