ในยุคที่ประเทศต้องการก้าวเข้าสู่ “Thailand 4.0” ภาคการเกษตรไทยเองก็ต้องตื่นตัวรับกระแสที่จะสร้างโอกาสการพัฒนาให้สอดคล้องกับเกษตรระดับโลกตามยุทธศาสตร์เกษตร 4.0 ที่กระทรวงเกษตรฯ ได้วางไว้ ถือเป็นการพลิกแนวคิดเกษตรโดยเน้นการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนจากการใช้ทรัพยากรเป็นเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคม ประเด็นหนึ่งที่ภาคการเกษตรต้องเร่งหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การกำจัดทำลายบรรจุภัณฑ์เคมีการเกษตรใช้แล้ว เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องในการทำลายบรรจุภัณฑ์เหล่านั้น ซึ่งสารปนเปื้อนที่เหลือตกค้างอยู่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเกษตรกรและสัตว์เลี้ยงได้

บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว รอนำส่งไปกำจัดอย่างถูกวิธี
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว รอนำส่งไปกำจัดอย่างถูกวิธี

ชาวไร่กว่า 40,000 คน ทำไร่ยาสูบรวมกันกว่า 132,000 ไร่ มีผลผลิตใบยาสูบ 40,900 ล้านกิโลกรัม โดยประมาณ 18,200 ล้านกิโลกรัม หรือ 44% ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ การใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อควบคุมแมลงและโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดกับผลผลิตบางครั้งก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด จึงได้ร่วมกับบริษัทรับซื้อและส่งออกใบยาสูบ บริษัท Alliance One Thailand บริษัท อดัมส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ADAMS) และ บริษัท ไซแอม โทแบคโค เอกซ์ปอร์ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด (STEC) ริเริ่ม โครงการกำจัดบรรจุภัณฑ์เคมีเกษตรในไร่ยาสูบ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 เพื่อเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วและส่งไปเผาทำลายอย่างถูกวิธี

จุดรับคืนบรรจุภัณฑ์สารเคมี
จุดรับคืนบรรจุภัณฑ์สารเคมี

นายพงศธร อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด กล่าวว่า “โครงการกำจัดบรรจุภัณฑ์เคมีเกษตรฯ เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมหลักปฏิบัติด้านการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices-GAP) ที่เราต้องการพัฒนาคุณภาพผลผลิตใบยาสูบให้ได้มาตรฐานการส่งออก ในขณะเดียวกันก็ดูแลคุณภาพชีวิตของแรงงานในไร่และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ก่อนหน้าจะมีโครงการนี้ กว่า 80% ของบรรจุภัณฑ์เคมีการเกษตรที่ใช้แล้วถูกกำจัดทำลายแบบไม่ถูกต้อง โครงการฯ ได้วางขั้นตอนการกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี โดยบริษัทรับซื้อและส่งออกใบยาสูบเป็นผู้รับจัดเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์เคมีการเกษตรทั้งหมดที่ใช้ในไร่ยาสูบและพืชอื่นๆ เพื่อนำไปส่งบริษัทรับเผากำจัดขยะอันตรายให้ทำลายอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งฝึกอบรบและให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง”

กระบวนการกำจัดบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว
กระบวนการกำจัดบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว

จนถึงปัจจุบัน มีการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์เคมีเกษตรที่ใช้แล้วกว่า 947,000 ชิ้น หรือมากกว่า 10 ตัน กลับคืนจากชาวไร่ โดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ถูกรวบรวมนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและถูกสุขลักษณะ และมีชาวไร่ยาสูบกว่า 13,400 ราย หรือร้อยละ 80 ของชาวไร่ยาสูบทั้งหมดเข้าร่วมโครงการ

นายเกษม เพ็งผลา
นายเกษม เพ็งผลา ชาวไร่ยาสูบจาก ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

นายเกษม เพ็งผลา ชาวไร่ยาสูบจาก ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด กล่าวว่า “เมื่อก่อนชาวไร่เรานิยมเอาขวดพลาสติกและแก้วให้กับร้านขายของเก่า หรือไม่ก็เผาหรือฝังลงดิน แต่พอเข้าร่วมโครงการฯ บริษัทรับซื้อใบยาสูบก็มาให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง และแนะนำให้เก็บภาชนะบรรจุสารเคมีไว้ในตู้เก็บสารเคมี รอให้เจ้าหน้าที่จากทางบริษัทฯมารับ และนำไปส่งเพื่อกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป”

ห้องเก็บบรรจุภัณฑ์
ห้องเก็บบรรจุภัณฑ์

“นับเป็นครั้งแรกในภาคการเกษตรของประเทศที่มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เราอยากเห็นชาวไร่และแรงงานยาสูบมีความปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม และเราหวังว่าโครงการนี้จะช่วยกำหนดมาตรฐานที่ดีให้กับประเทศไทย เพื่อช่วยตอบโจทย์เกษตร 4.0 และสร้างความยั่งยืนให้กับภาคการเกษตรไทย” นายพงศธร กล่าวสรุป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated