สินค้าเกษตรปี60 ข้อมูลจากตลาดไท...ตัวไหนมีแนวโน้มดีบ้าง?
ตลาดไท ศูนย์ค้าส่งสินค้าเกษตรระดับประเทศ...

ภาวะสินค้าเกษตร ปี 2559  มีการหดตัวเมื่อเทียบกับ ปี 2558 โดยสาขาการผลิตที่หดตัว ได้แก่ สาขาพืช สาขาประมง และสาขาบริการทางการเกษตร ขณะที่สาขาปศุสัตว์ และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลให้มี ปริมาณน้้าฝนน้อยกว่าปกติ ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศตั้งแต่ช่วงปลายปี 2558 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2559 โดยปริมาณน้้าใช้การได้ในเขื่อนหลักต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์น้อยมาก ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช ตลอดจนส่งผลกระทบกับต้นทุนการผลิต และปริมาณผลผลิตไม้ผลที่มูลค่าทางเศรษฐกิจ  อาทิ  ทุเรียน  ลำไย  มะม่วง  เป็นต้น  และในบางพื้นที่แทบไม่มีผลผลิตออกสู่ตลาด อาทิ ผลผลิตลิ้นจี่ของอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ปริมาณผลผลิตไม้ผลที่สำคัญ   (ตัน)

                                      2558                2559                      เปลี่ยนแปลง(%)

ลำไย      (8 จว.ภาคเหนือ)   541,643            420,165                      (22.43)

ทุเรียน                             603,332            594,944                      (1.4)

ราคาทุเรียนที่เกษตรกรจำหน่ายหน้าสวนเฉลี่ยปี 2559 ณ เดือนธันวาคม 75.27 บาท  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน 52.56 บาท

มะม่วง    (ทุกชนิด)             550,067            497,152                      (9.61)

ราคามะม่วงที่เกษตรจำหน่ายหน้าสวนเฉลี่ยปี 2559 ณ เดือนธันวาคม 23.68 บาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน   23.18 บาท ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่อาคารผลไม้ฤดูกาล ที่มีปริมาณลดลง และราคาจำหน่ายผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงตลอดช่วงฤดูกาล

ทุเรียน ยังไปได้ดี
ทุเรียน ยังไปได้ดี
  • แนวโน้มสินค้าเกษตร (ไม้ผล) ในปี 2560

ผลไม้ที่มีแนวโน้มในการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก ได้แก่

ทุเรียน เนื่องจากมีการปลูกทดแทนต้นทุเรียนที่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง ต้นทุเรียนแก่ และการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการปลูกพืชชนิดอื่น อาทิ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน  และมีแนวโน้มที่ดีด้านราคา เนื่องจากมีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และมีรูปแบบการส่งออกที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบผลสด  ทุเรียนแช่เยือกแข็ง โดยเฉพาะทุเรียนแช่เยือกแข็งมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วงปี 2556 – 2558 มีการส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2558 ที่ผ่านมามีการส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งประมาณ 22,180 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,944 ล้านบาท โดยเฉพาะเนื้อทุเรียนแช่เยือกแข็งมีประมาณ 1,588 ตัน คิดเป็นมูลค่า 105.08 ล้านบาท โดยประเทศนำเข้าทุเรียนแช่เยือก แข็งที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ออสเตรเลีย ไต้หวัน เกาหลี และฮ่องกง”

ลำไย มีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกทดแทนโดยเฉพาะทางภาคเหนือเพื่อปลูกทดแทนต้นลำไยที่ยืนต้นตายเนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งที่ได้รับความเสียหายประมาณ 28,000 ไร่ รวมถึงมีแนวโน้มการทำลำไยนอกฤดูเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในช่วงเทศกาลสำคัญ อาทิ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลสารทจีน ทั้งนี้ผลผลิตต่อไร่ของลำไยนอกฤดูมีปริมาณมากกว่าผลผลิตลำไยในฤดู และความต้องการของตลาดมีแนวโน้มที่ดี ปริมาณส่งออกลำไยสดและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีตลาดที่สำคัญได้แก่ จีน  และตลาดใหม่ในเอเชีย อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย  เวียดนาม

กล้วยหอม ต้องวางแผนผลิตให้ตรงกับเทศกาลสำคัญ
กล้วยหอม ต้องวางแผนผลิตให้ตรงกับเทศกาลสำคัญ

กล้วยหอม มีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก จากเดิมปี 2558 มีพื้นที่ 68,128 ไร่ เพิ่มขึ้นในปี 2559 เป็น 82,128 ไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกใหม่ทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ แม้ปริมาณผลผลิตในปี 2559 มีเพียง 155,209 ตัน ลดลงจากที่ปี 2558 ที่มีปริมาณ 207,514 ตัน แต่มีแนวโน้มราคาจำหน่ายหน้าสวนเพิ่มขึ้น จากปี 2558 ที่กิโลกรัมละ 18.51 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 22 บาทในปี 2559 สำหรับกล้วยหอมเป็นพืชที่เกษตรกร ผู้ค้ามีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับเทศกาลสำคัญ อาทิ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลสารทจีน

แนวโน้มของผลไม้ที่ตลาดมีความต้องการมีปัจจัยจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่มีปริมาณขึ้น ผู้ส่งออกสามารถเชื่อมโยงกับตลาดใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้สามารถดึงปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดในประเทศได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อราคารับซื้อ ราคาจำหน่ายในประเทศให้มีแนวโน้มที่สูง หรือหากผลไม้ชนิดมีความต้องการจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลให้ราคารับซื้อผลผลิตสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องดูปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดว่าสอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานหรือไม่ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรอบการผลิตสั้น อาทิ สับปะรด แม้ว่าราคาที่ผ่านมาจะดีเนื่องจากโรงงานสับปะรดกระป๋องมีความต้องการผลิตเข้าสู่กระบวนการผลิต แต่เมื่อปริมาณพื้นที่และผลผลิตเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคารับซื้อลดลง  นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการแทงช่อดอก และติดผล อาทิ ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งเนื่องจากสภาวะอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความถี่มากขึ้นทั้งเอลนีโญ และลานินญา อาจส่งผลต่อราคาและความต้องการผลผลิตในปี 2560 ด้วยเช่นกัน 

สัตว์น้ำ ยังคงทรงตัวเหมือนปีที่ผ่านมา
สัตว์น้ำ ยังคงทรงตัวเหมือนปีที่ผ่านมา
  • แนวโน้มสินค้าประเภทปลาน้ำจืด ปี 2560

สัตว์น้ำ (ปลาน้ำจืด) ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย(ข้อมูลจากกรมประมง) เช่น  ปลานิล  ปลาตะเพียนขาว  ปลาสลิด  ปลาช่อน  ปลาสวาย ปลาแรด ปลาบู่ทราย ปลาไน  ปลากราย  ปลากะโห้ ปลายี่สก  ปลาจีน ฯลฯ

ในปี 2559 การเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมีทิศทางลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้ ปัญหาภัยแล้งได้ส่งผลกระทบทำให้ตระกูลปลาหนัง เช่น ปลากด ปลากดคัง ปลาสวาย ปลาแดง และปลาเนื้ออ่อน มีปริมาณลดลง นอกจากนั้นยังทำให้ราคาปลาน้ำจืดในตลาดผันผวน เฉลี่ยปรับสูงขึ้น 50-100% ในช่วงที่ปัญหาภัยแล้งประสบปัญหาอย่างรุนแรงและกระทบเป็นวงกว้าง เช่น ปลาเนื้ออ่อน ส่วนปลานิล ปลาทับทิม ปรับตัวสูงขึ้น 5-10% เพราะปีนี้สถานการณ์ภัยแล้งมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้เกษตรกรเลี้ยงปลาได้ผลผลิตน้อย เพราะสัดส่วนปลาที่เลี้ยงในกระชังมีมากถึง 40% เลี้ยงในบ่อดิน  60%

สำหรับในปี 2559 ปริมาณของปลาตะเพียนไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง และการเลี้ยงปลาตะเพียนต้องอาศัยแหล่งน้ำสะอาด ทั้งนี้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน และประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการบริโภคปลาตะเพียนในปริมาณสูง

สำหรับปลาช่อนความต้องการบริโภคปลาช่อนมีแนวโน้มที่ดีตั้งแต่ปี 2558  เนื่องจากปัจจุบันปลาช่อนที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้อาชีพการเลี้ยงปลาช่อนเพื่อป้อนสู่ตลาดนับว่ายังสดใส สามารถยึดถือและสร้างอาชีพการเลี้ยงปลาช่อนให้เป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมได้ ด้วยคุณสมบัติของปลาช่อนที่ให้เนื้อดี แน่น และรสชาติถูกปากผู้บริโภค เมื่อนำมาประกอบอาหารแล้ว ยังคงนำมาต่อยอดด้วยการแปรรูปต่างๆ หลากหลายเมนู ที่สามารถขยายกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มขึ้น จึงถือได้ว่าหากท่านใดสนใจในการคิดที่จะเลี้ยงปลาช่อนเพื่อสร้างรายได้แล้วนั้น สามารถทำได้แต่คงต้องหาตลาดไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้บริโภคปลาช่อนมีทั้งตลาดในและต่างประเทศ

ด้านปัญหาและอุปสรรค อาหารปลาช่อนหากเลือกใช้ปลาทะเลให้ปลาช่อนกินจะทำให้แบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้ได้รับกำไรที่น้อยลงไปด้วยเนื่องจากปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อและกินจุ จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการตระเตรียมน้ำให้เพียงพอต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำในช่วงระยะเวลาตลอดอายุการเลี้ยงปลาช่อน หากประสบปัญหาภัยแล้งอาจส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงและปริมาณผลผลิตได้

สำหรับปี 2560 สถานการณ์ปลาเศรษฐกิจในตลาดไท อาทิ  ปลานิล ปลาช่อน ปลาดุก  สถานการณ์ โดยรวมไม่แตกต่างจากปี 2559 ด้านราคาไม่น่าจะมีการปรับราคาขึ้น เนื่องจากปริมาณการซื้อที่ลดลง เมื่อเทียบราคากับปี 2558 แล้วราคาจำหน่ายในปี 2558 จะดีกว่าปี 2559  สำหรับในปี 2560 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อราคาและปริมาณผลผลิตได้แก่ ต้นทุนการผลิต(ราคาอาหารสัตว์)  ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ สภาวะภัยแล้ง อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสภาวะราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มลดกำลังการผลิตลง

_%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2_%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%81_05_979_350_s_c1_c_c

  • แนวโน้มสินค้าประเภทพืชผัก ปี 2560

ในปี 2559 ผลผลิตพืชผัก ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง ออกสู่ตลาดมาก โดยผลผลิตกระเทียม ใกล้เคียงกับปี 2558 แม้ว่าเนื้อที่เพาะปลูกจะลดลงจากราคาที่ไม่จูงใจ แต่ปริมาณน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะสมจะทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ส่วนหอมหัวใหญ่ผลผลิตจะเพิ่มจากต้นกล้าที่สมบูรณ์ไม่เสียหายเหมือนปี 2558 และผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับปรุงด้านหัวพันธุ์ เน้นการใช้หัวพันธุ์ดี มีคุณภาพ แข็งแรง ต้านทานจากโรค รวมทั้งบริษัท แปรรูปมันฝรั่งยังมีโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งที่ถูกต้อง เพื่อให้มีการบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและพัฒนาการผลิตของเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป  ในขณะที่ผลผลิตหอมแดง ดลงจากราคาที่ไม่จูงใจ ทำให้เกษตรกรลดเนื้อที่เพาะปลูก

สถานการณ์การผลิตพืชผักในประเทศ   แต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามชนิดของผัก การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประชากร และค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารนับเป็นสิ่งกระตุ้นภาคการผลิต  ซึ่งต้องมีการวางยุทธศาสตร์พืชผัก  สำหรับรองรับในอนาคตเป็นรายพืช นอกจากนี้ ความนิยมในด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพก็เป็นแนวโน้มที่เริ่มจะแพร่ขยายเข้าสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคผักที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ   ประเด็นที่สำคัญคือการเน้นการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มในพืชผักและเมล็ดพันธุ์ผัก เพื่อการแข่งขันและส่งออก พืชผักที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ พริก ข้าวโพด ถั่วฝักยาว ผักกาด กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน

สรุป ด้านราคาพืชผัก ณ ตลาดไท ในปี 2559 มีราคาค่อนข้างดี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทำให้ผักมีราคาสูง มีปริมาณเข้าสู่ตลาดลดลง ประกอบกับความต้องการบริโภคผักยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง แม้กำลังซื้ออาจลดลงตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวแต่ความต้องการการบริโภคยังคงมีอยู่

สำหรับการเพาะปลูกสินค้าประเภทผักในปี 2560 อาจมีแนวโน้มที่สดใสหากปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก แหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำใต้ดินมีปริมาณเพียงพอต่อการผลิต ส่วนราคานั้นคงต้องติดตามว่าปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดเกินความต้องการในการบริโภคหรือไม่ ทั้งนี้ เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทาน  แต่หลายหน่วยงานคาดว่าในปี 2560 น่าจะมีปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นกว่าปี 2559 แต่ต้องมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพด้วย

สำหรับผักที่น่าสนใจในปี 2560 อาทิ ผักชี หากสามารถปลูกได้ในฤดูฝน ตลาดมีความต้องการอาจได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ชะอมที่สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปี ราคากำละ 20-25 บาท   ดอกขจร ปลูกง่าย สร้างรายได้สูงถึง 200 บาท/กิโลกรัม ในช่วงที่ผลผลิตขาดตลาด ถั่วฝักยาวกิโลกรัมละ 40-50 บาท หากมีผลผลิตในฤดูหนาว หรือช่วงหน้าแล้ง

ขอบคุณ : ข้อมูลสินค้าเกษตรตลาดไท (30/12/59) : ภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated